การถวาย การถวายอดิเรก คืออะไร มาดูเรื่องราวกัน

พัทลุง อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ห่างจากกรุงเทพฯ 860 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 3,424.473 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองแห่งขุนเขาที่เก่าแก่โบราณเมืองหนึ่งของภาคใต้
ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

การถวาย การถวายอดิเรก คืออะไร มาดูเรื่องราวกัน

โพสต์โดย ลุงหนวด » พฤหัสฯ. 15 ต.ค. 2020 10:10 pm

การถวาย การถวายอดิเรก คืออะไร มาดูเรื่องราวกัน

ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก  (สอน  พุทฺธสโร)
จำชื่อนี้ไว้นะ จะเป็นเรื่องราวของท่าน และ ทำให้เราได้รู้จัก คำว่า "การถวายอดิเรก"

อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
สุขิโต โหตุ มหาราชา
สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโยนิจฺจํ
มหาราชวรสฺส ภวฝตุ สพฺพทา ขอถวายพระพรฯ



ที่มา ของการถวายอดิเรก
พระอุดมปิฎก นามเดิม สอน นามฉายา พุทฺธสโร เป็นชาวจังหวัดพัทลุง ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ ณ วัดหนัง เขตบางขุนเทียน(ปัจจุบันจอมทอง) ได้มาศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดหงสาราม ปัจจุบันเป็นวัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ภายหลังได้ย้ายมาอยู่วัดหงสาราม และเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสาราม รูปที่ 5 เป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงรู้จักและคุ้นเคยเป็นอันดี ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็ทรงตั้งให้พระมหาสอน เป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า พระอุดมปิฎก และเป็นเจ้าอาวาสวัดหงสารามจนตลอดรัชกาล

เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว รัชกาลที่ 4 ซึ่งยังผนวชอยู่ ก็ทรงลาสิกขาขึ้นเสวยราชสมบัติ พระอุดมปิฎก ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหงสารามกลับภูมิลำเนาเดิม

ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก รูปนี้มีประวัติที่ควรจารึกไว้ให้ปรากฏ คือ เมื่อรัชกาลที่ 4 ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ท่านกลัวว่าราชภัยจะมาถึงตน เพราะเคยมีปฏิกิริยาคัดคัานการทรงตั้งคณะธรรมยุติกนิกายอย่างแรงกล้า จึงรีบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหงสาราม กลับไปอยู่ในภูมิลำเนาเดิม

ครั้นถึงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ทรงรับสั่งให้สืบหา พระอุดมปิฎกครั้นทรงทราบว่า ท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสุนทราวาส (สนทรา) จ. พัทลุง จึงทรงรับสั่งให้อาราธนามาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของคณะข้าราชการ กรมการจังหวัดเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเดินทาง (โดยทางเรือ) ทุกประการ

ท่านจึงเดินทางมาตามหมายกำหนดการ ครั้นถึงวันพระราชพิธี พระอุดมปิฎก เข้านั่งประจำที่ เป็นองค์สุดท้ายปลายแถว ถึงเวลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมโดยลำดับ นับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาจนถึงพระอุดมปิฎก ทรงโสมนัสยิ่งนัก ทรงทักทายด้วยความคุ้นเคย ตอนท้ายทรงรับว่า ท่านเดินทางมาแต่ไกล นานปีจึงจะได้พบกัน ขอจงให้พรโยมให้ชื่นใจเถิด

เมื่อได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ท่านเจ้าคุณก็ตั้งพัดยศขึ้นถวายพระพรด้วยปฏิภาณโวหารว่ากลอนสดเป็นภาษาบาลีว่า

อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว

ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ

สุขิโต โหตุ ปรมินฺทมหาราชา

สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ

ปรมินฺทมหาราชวรสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพร.


เนื่องจากท่านไม่ได้เตรียมไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องถวายพระพร จึงว่าติดเป็นระยะ ๆ วรรคแรกว่าซ้ำถึง 3 หน จึงว่าวรรคที่สองต่อไปได้ ว่าวรรคที่สองซ้ำถึง 2 หน จึงว่าวรรคที่สามต่อไปได้ และว่าไปได้ตลอดจนจบโดยมิได้ซ้ำอีกเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับแล้วทรงโปรดพระพรบทนี้มาก จึงทรงรับสั่งให้ถือเป็นธรรมเนียม ให้พระสงฆ์ใช้พรบทนี้ถวายพระพรพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีทั้งปวงตราบเท่าทุกวันนี้โดนมิได้ตัดตอนแก้ไขแต่ประการใด แม้คำที่ท่านว่าซ้ำสองสามหน ก็รักษาไว้เหมือนเดิมเรียกว่า ถวายอดิเรก แต่ได้ทรงเพิ่มคำว่า ตุ ต่อท้ายคำว่า ชีว เป็น ชีวตุ สืบมาจนบัดนี้

โดยที่พระอุดมปิฎก ผู้เป็นต้นเหตุถวายพระพรบทนี้เป็นพระราชาคณะ ดังนั้นจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมาว่า พระผู้ที่จะถวายอดิเรกได้นั้น ต้องมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ธรรมเนียมนี้ได้รักษามาเป็นเวลาช้านาน แต่ปัจจุบันนี้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2510) ทางการคณะสงฆ์ได้อนุญาตให้พระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอกผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ซึ่งถือพัดยศเปลวเพลิงเป็นผู้ถวายอดิเรกได้โดยอนุโลม นับได้ว่าพระอุดมปิฎก เป็นต้นบัญญัติแห่งการถวายอดิเรกด้วยประการฉะนี้

มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมว่า เนื่องจากท่านมหาสอนเป็นคนรูปร่างเล็กผิวดำและเตี้ย แม้ท่านจะสนใจในการศึกษา แต่ก็หาโอกาสสอบไม่ได้ ด้วยในขณะนั้น ผู้ที่เข้าสอบเปรียญ นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแล้ว คณะกรรมการจะต้องพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีรูปร่างสวยงามและมีนิสัยใจคอดีด้วย ถึงคราวคณะกรรมการประชุมสอบ พระสอนชอบไปช่วยเหลือด้วยการต้มน้ำร้อนชงชาถวายคณะกรรมการเป็นประจำ

วันหนึ่ง ขณะที่พระกรรมการกำลังประชุมสอบภิกษุรูปหนึ่งอยู่นั้น พระกรรมการรูปหนึ่งได้ออกจากที่ประชุมไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ ได้ยินเสียงพระสอนพูดกับพระรูปอื่นๆ ในวงชาว่า “ประโยคนี้แปลไม่ได้อีกก็แย่แล้ว”
พระกรรมการรูปนั้นได้ยินก็สนใจถึงถามว่า คุณแปลได้หรือ ? พระสอนตอบว่า ถึงแปลได้ก็ไม่มีคนรับรองให้แปล พระกรรมการรูปนั้นจึงรับรองว่าจะเป็นผู้
รับรองส่งเข้าสอบ จึงเป็นอันว่าพระสอนได้มีโอกาสเข้าสอบในเวลาต่อมา และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคดังกล่าวแล้ว เรื่องรูปร่างสวยไม่สวยจึงค่อยคลายลงโดยลำดับมา



ประวัติและผลงานของ

ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก  (สอน  พุทฺธสโร)

             ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก ชาวบ้านสนทรา ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เกิดเมื่อ พ.ศ.2322 ได้อุปสมบทเรียนพระธรรมวินัยในสำนักพระอาจารย์ศรีแก้ว เจ้าอาวาสวัดหัวสนทรา หรือวัดสุนทราวาสในปัจจุบัน แล้วย้ายไปจำพรรษา ณ วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้รับความอุปถัมภ์จากพระยาพัทลุงทองขาว (พระยาแก้วโกรพพิชัย อภิยพิริยะพาหะ) เจ้าเมืองพัทลุง และคุณหญิงปล้อง ภรรยา
            พระสอน พุทฺธสโร พระบ้านนอก ชาวเมืองพัทลุง ผู้มีบุญญาธิการได้รับความอุปถัมภ์จากบุคคลชั้นสูงในราชสำนักเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองพัทลุง ท่านก็มุมานะ อุตสาหะศึกษาพระปริยัติธรรมด้านภาษาบาลีอย่างจริงจัง จนเป็นผู้มีความรู้แตกฉานทั้งด้านภาษาบาลี ทั้งด้านคดีโลกคดีธรรมอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อมีโอกาสเข้าสอบความรู้ด้านภาษาบาลี ท่านก็ได้แสดงความสามารถสอบผ่านพระมหาเปรียญ 9 ประโยค ในการสอบครั้งเดีย โดยวิธีสอบปากเปล่า ต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2
            พ.ศ.2368 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้พระมหาสอนพุทฺธสโร เปรียญธรรมา 9 ประโยคเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระอุดมปิฎก" และทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนาธรรมกับท่านเป็นครั้งคราว
            พ.ศ.2385 เมื่อพระยาสงขลา (เถี่ยนเส้ง) ย้ายที่ตั้งเมืองจากแหลมสนริมทะเลมาตั้งที่ตำบลย่อยาง ที่ตั้งเมืองสงขลาปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก ได้เป็นผู้แทนพระองค์ ออกมาเป็นประธานในการปักหลักเมือง เวลากลับเข้ากรุงเทพฯ ท่าได้แวะเยี่ยมวัดสุนทราวาส ได้เห็นเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดทรุดโทรมมาก เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อกลับเข้าไปถึงกรุงเทพฯ ท่านได้เข้าไปถวายพระพรลาออกมาอยู่จำพรรษา ณ วัดสุทราวาส เพื่อปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ที่ทรุดโทรม และได้สร้างโรงอุโบสถหลังใหม่ตามแบบราชนิยมในรัชกาลที่ 3 โดยย่อส่วนมาจากพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม โรงอุโบสถหลังนั้นยังคงสง่างามอยู่จนถึงปัจจุบัน อยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร
            ในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ และการสร้างโรงอุโบสถที่วัดสุนทราวัดนี้ ท่านเข้าคุณพระอุดมปิฏก ได้รับความอุปถัมป์ ช่วยเหลือจากพระยาพัทลุงจุ้ย (พระยาแล้วโกรพพิชัย อภัยพิริยะพาหะ) เป็นกำลังสำคัญ
            ในขณะที่ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก อยู่จำพรรษา ณ วัดสุนทราวาสนี้ คราวหนึ่งพระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาพัทลุงจุ้ยนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎกเข้าไปร่วมในพระราชพิธีพระชนมพรรษา ท่านก็เข้าไปตามที่ทรงพระกรุณาโปรดฯ เมื่อเสร็จพระราชพิธี พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายอนุโมทนาจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสันถารกับท่านเจ้าคุณว่า "พระคุณเจ้าเดินทางมาแต่ไกล นานๆ ถึงได้พบกัน ขอจงให้พรโยมให้ชื่นใจทีเถิด" ท่านเจ้าคุณก็จับพัดยศขึ้นตั้งถวายพระพรด้วยปฏิภาณโวหารว่า
 
พระอุโบสถแบบราชนิยม ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

  อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
อติเรกวสฺสสตํ ชีว
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ
สุขิโต โหตุ มหาราชา
สิทฺธิกิจฺจํ สิทฺธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโยนิจฺจํ
มหาราชวรสฺส ภวฝตุ สพฺพทา ขอถวายพระพรฯ

            เมื่อท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎกถวายพระพรพิเศษบทนี้จบลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดมาก ทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า "ช่างไพเราะเหลือเกิน ได้ใจความดีเหลือเกิน" แล้วทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระสงฆ์ทั้งปวงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "การถวายอดิเรก"

            หลังจากที่ท่านกลับออกมาจากกรุงเทพฯ ครั้งนั้นแล้วก็ไม่ได้เข้าไปกรุงเทพฯ อีกเลย คงอยู่จำพรรษา ณ วัดสุนทราวาสนั้นเอง อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ได้รับการอุปถัมภ์จากพระยาพัทลุงจุ้ย ครั้นพระยาพัทลุงจุ้ยถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ก็ได้รับการอุปถัมภ์สืบต่อจากพระยาพัทลุงทับ ตั้งแต่ท่านยังเป็นหลวงภักดียกกระบัตร ผู้รักษาการเจ้าเมืองพัทลุง

              ท่านเจ้าคุณพระอุดมปิฎก ได้ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ.2396 อายุได้เพียง 74 ปี พระยาพัทลุงทับได้เป็นประธานจัดงานศพท่านอย่างเรียบง่าย แบบงานศพพระบ้านนอกทั่วไป ณ วัดสุนทราวาสนี้เอง แล้วนำศพท่านไปทำการฌาปนกิจ ณ บริเวณหน้าเมืองลำปำ 

ทีมา onab.go.th

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 43 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน