ดงพญาไฟ ตำนาน ที่ถูกเปลี่ยนชื่อ ดงพญาเย็น ตำนานกว่าจะมาเป็น เขาใหญ่

นครราชสีมา โคราช เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 259 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่บนดินแดนที่ราบสูง ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
โคราช
ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

ดงพญาไฟ ตำนาน ที่ถูกเปลี่ยนชื่อ ดงพญาเย็น ตำนานกว่าจะมาเป็น เขาใหญ่

โพสต์โดย ลุงหนวด » จันทร์ 21 มี.ค. 2016 2:57 am

ปี 2434 เมื่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ทางรถไฟเชื่อมภาคกลางกับภาคอีสาน โดยตัดผ่านดงพญาไฟ
ช่วงนี้ ทำให้วิศวกร นายช่าง และแรงงาน จำนวนมาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างก็พาชีวิตมาสังเวยกับไข้ป่ากันเป็นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสลดพระทัยยิ่งนัก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้โดยทั่วกัน พร้อมกับให้ ยุติการสร้างทางรถไฟไว้เพียงเท่านี้

เปลี่ยนมาเป็นดงพญาเย็น
เมื่อพระองค์เสด็จมาทำพิธีเปิดทางรถไฟ ขณะเสด็จกลับได้ผ่านป่าใหญ่
ดงดิบ (ปัจจุบันคือบริเวณเขื่อนลำตะครอง) ถึงสถานีรถไฟปากช่อง
ก็ได้ทรงรับสั่งถามว่า "ป่านี้ชื่อว่าอะไร" ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้กราบ
บังคมทูลว่าชื่อ "ป่าดงพญาไฟ" พระองค์ทรงรับสั่งว่า "ป่านี้ชื่อฟังดู
น่ากลัว" จึงตรัสว่า "ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดงพญาเย็น เพื่อ
ความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์
ในวันข้างหน้า"


ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก และเปลี่ยนมาเรียก "เขาใหญ่"

หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น ดงพญาเย็น แล้ว เริ่มมีผู้คนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน
กันเรื่อย ๆ ต่อมา เมื่อประมาณ 80 ปีเศษที่ผ่านมา (ประมาณปี 2467)
ราษฎรบ้านท่าชัย และบ้านท่าด่าน จังหวัดนครนายก ได้พากันขึ้นไป
ถากถางป่าปลูกข้าว ปลูกพริก ไม้ผล (ยังปรากฏมีต้นขนุน และมะม่วง
ให้เราเห็นอยู่บนเขาใหญ่จนบัดนี้) และปลูกบ้านเรือนอยู่บนยอดเขา
ประมาณ 30 หลังคาเรือน เกิดเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นมา ต่อมาทางการ
ได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นกับอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
มีการบุกรุกถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยมาเป็นเวลาช้านาน จนทำให้สภาพ
ป่าเป็นทุ่งหญ้าคา มีเนื้อที่กว้างขวาง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกชัฏ
อยู่

ครั้นต่อมา ตำบลเขาใหญ่กลายเป็นที่ซ่อมสุมโจรผู้ร้าย เป็นที่พักพิง
พวกหลบหนีคดีต่าง ๆ กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนไป ยากแก่การ
ปราบปรามให้ราบคาบได้

จนกระทั่ง ปี 2499-2500 รัฐบาลได้สร้างถนนมิตรภาพ จากสามแยก
สระบุรี ตัดผ่านดงพญาเย็น ขนานกับทางรถไฟในบางช่วง สู่ภาค
อีสาน ทำให้ความเจริญรุกคืบหน้า

ต่อมาในปี 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์
ไปตรวจราชการ โดยแวะพักบริเวณใกล้กับหนองขิง เขาใหญ่ เห็นว่ามี
ภูมิประเทศสวยงามตามธรรมชาติ อากาศดี การคมนาคมไปมาสะดวก
น่าจะเป็นแหล่งดึงดูดให้ประชาชนที่อยู่พระนครและใกล้เคียงได้ไปพักผ่อน
จึงได้กำหนดนโยบายที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ตากอากาศและเป็นที่
พักผ่อนของประชาชน ทั้งนี้ โดยให้รักษาสภาพธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด

ดังนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดเขาใหญ่เป็นเขตหวงห้ามที่ดินของรัฐ
และให้กระทรวงเกษตรเป็นผู้รับไปดำเนินการให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
และในการประชุมคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเขาใหญ่
โดยเฉพาะขึ้นชุดหนึ่ง โดยมี พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตร เป็นประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2503

ต่อมา กรมทางหลวงแผ่นดินได้สร้างถนนจากถนนมิตรภาพ ก่อนถึง
อำเภอปากช่อง (ก.ม. ที่ 165.5 ) ขึ้นเขาใหญ่ ระยะทาง 40 กิโลเมตร
และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2505

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นห่วงในเรื่องการถากถางป่า ของชาวบ้านที่มีมากขึ้นทุกวัน จึงได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ของเมืองไทย ในปี 2505 ครอบคลุมพื้นที่ รวม 4 จังหวัด คือ จังหวัด นครนายก นครราชสีมา สระบุรี และปราจีนบุรี หลังจากนั้น ผู้คนจึงได้ เรียกผืนป่าดงพญาเย็นว่า "เขาใหญ่" ตามที่ชาวบ้านเรียกเทือกเขาในบริเวณนั้นว่า "เทือกเขาใหญ่" (เทือกเขาใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา พนมดงรัก)

(ผู้เขียน - ปัจจุบันยังมีสถานที่ในเขาใหญ่ที่ชื่อฟังแล้วยังน่ากลัวอยู่ ได้แก่ ลำพระเพลิง เขาฟ้าผ่า และน้ำตกเหวนรก)

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 38 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน