เทคนิคซื้อประกันอัคคีภัย ข้อควรรู้ก่อนไฟไหม้บ้าน

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

เทคนิคซื้อประกันอัคคีภัย ข้อควรรู้ก่อนไฟไหม้บ้าน

โพสต์โดย smanpruksa » ศุกร์ 25 พ.ย. 2022 1:28 pm

นับเป็นความตระหนกตกใจสำหรับคนกรุง ภายหลังจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในวันเดียวกัน 3 จุด ทั่วกรุงเทพมหานคร และล่าสุดที่โรงงานทำรองเท้าชื่อดัง ย่านบางนา ก็มีเหตุเพลิงไหม้ลุกลามจนอาคารบางส่วนพังทลายลงมา สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินและอาคารพาณิชย์หรือแม้แต่อาจลุกลามไปยังบ้านเรือนของประชาชนได้ ถึงแม้การทำประกันอัคคีภัยจะเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ที่ต้องจดจำนองบ้านกับธนาคาร (เมื่อต้องรีไฟแนนซ์บ้าน ประกันอัคคีภัยทำอย่างไร? แต่การเลือกซื้อประกันอัคคีภัยภายหลังบ้านปลอดภาระ ก็ยังเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเจ้าของบ้านทุกคน

1. มีวงเงินคุ้มครองครอบคลุมมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน

เมื่อต้องทำประกันอัคคีภัยสำหรับอาคาร บ้านเรือน และที่อยู่อาศัย ควรเลือกทำประกันที่มีวงเงินความคุ้มครองให้ครอบคลุมมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน แต่ไม่ควรทำประกันเกินมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน เพราะหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จะจ่ายให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้

ตัวอย่างเช่น หากซื้อบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 2,000,000 บาท แบ่งเป็นมูลค่าที่ดิน 1,000,000 บาท และมูลค่าบ้าน 1,000,000 บาท ทุนประกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมมูลค่าบ้านจะเท่ากับ 1,000,000 บาท แต่ความคุ้มครองนี้ยังไม่ครอบคลุมกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หากเกิดความเสียหายเฉพาะเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งผู้เอาประกันสามารถแจ้งให้คุ้มครองเพิ่มในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น

• ทุนประกันบ้าน 1,000,000 บาท
• ทุนประกันเฟอร์นิเจอร์ 500,000 บาท
• รวมเป็น 1,500,000 บาท

ส่งผลให้มีผู้เอาประกันภัยเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน คิดว่าบริษัทประกันภัยรับประกันด้วยทุนประกันที่ต่ำกว่าความเป็นจริง จึงได้ไปทำประกันอัคคีภัยกับบริษัทอื่นเพิ่มอีก 1 แห่ง รวมเป็น 2 แห่ง จากตัวอย่างเดิม ผู้เอาประกันได้ทำประกันกับบริษัท A ทุนประกัน 1,000,000 บาท และได้ไปทำประกันกับบริษัท B เพิ่มอีก 1,000,000 บาท ทำให้มีทุนประกันรวม 2,000,000 บาท

หากเกิดอัคคีภัยประเมินความเสียหายได้ 800,000 บาท กรณีนี้บริษัท A และบริษัท B จ่ายค่าสินไหมทดแทนรวมกันไม่เกิน 800,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่บริษัทละ 800,000 บาท และทำให้ผู้เอาประกันอัคคีภัยเสียเบี้ยประกันภัยไปโดยเปล่าประโยชน์

2. ไม่ควรทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยที่วงเงินต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สิน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) (https://www.oic.or.th/) ระบุว่า การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามอัตราส่วนที่ได้รับความคุ้มครองเท่านั้น สัดส่วนที่เหลือจากการคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเอง

ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันไม่ประสงค์ทำเต็มมูลค่าทรัพย์สิน (1,000,000 บาท) แต่เลือกทำประกันในทุนประกัน 600,000 บาท หรือ 60% ตามหลักเกณฑ์การประกันอัคคีภัย เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยและสร้างเสียหายทั้งหมด บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามทุนประกันที่ได้ทำไว้คือ 600,000 บาท

แต่หากเกิดอัคคีภัยที่สร้างความเสียหายให้ทรัพย์สินบางส่วน ประเมินความเสียหายได้ 300,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเพียง 180,000 บาท (60% ของมูลค่าทรัพย์สิน) ตามหลักเกณฑ์ถือว่าผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงบางส่วนไว้เอง

3. เลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม


ถ้าผู้เอาประกันภัยพิจารณาแล้วว่า ความคุ้มครองปกติที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ก็สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ เช่น ภัยโจรกรรม หรือภัยน้ำท่วม โดยต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยส่วนเพิ่ม แต่ในบางครั้ง บริษัทฯ อาจพิจารณาไม่รับประกันภัยส่วนเพิ่มนี้ได้ หรืออาจพิจารณาเพิ่มเบี้ยประกันในอัตราที่สูงกว่าปกติ

4. เลือกระยะเวลาคุ้มครองที่ยาวขึ้นได้ค่าเบี้ยถูกลง

เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากอัตราค่าเบี้ยประกันที่คุ้มค่า ผู้เอาประกันภัยควรเลือกทำประกันอัคคีภัยระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันเลือกทำประกันอัคคีภัยระยะเวลา 1 ปี จะเสียค่าเบี้ยประกันปีละ 1,100 บาท หากทำแบบต่ออายุปีต่อปี เมื่อระยะเวลาผ่านไป 3 ปี จะเสียค่าเบี้ยประกัน 3,300 บาท แต่หากตัดสินใจเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 3 ปี (ทำระยะยาว) จะเสียค่าเบี้ยประกัน 2,750 บาท เท่ากับประหยัดได้ 550 บาทต่อ 3 ปี หรือเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 183 บาท คิดเป็น 16.7% ต่อปี

ทั้งนี้ หากผู้เอาประกันภัยพิจารณาแล้วเห็นว่าการเลือกระยะเวลาคุ้มครองยาวเป็นภาระทางการเงินมากเกินไป ก็อาจพิจารณาเลือกทำประกันภัยระยะเวลา 1 ปีแทนได้

มูลค่าทรัพย์สินที่จะทำประกันอัคคีภัยควรกำหนดอย่างไร
เพื่อให้การซื้อประกันอัคคีภัยได้รับความคุ้มครองสูงสุดตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ควรกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้มีมูลค่าใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่จะทำประกันภัย การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสามารถกำหนดโดย ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง หรือ บริษัทผู้ประเมินราคา แต่ทรัพย์สินที่จะทำประกันภัยสามารถกำหนดเองได้ในเบื้องต้น คือ สิ่งปลูกสร้าง (อาคาร)

อย่างไรก็ตาม หากเลือกไม่ทำประกันภัยเลย (กรณีที่บ้านไม่มีภาระการกู้เงินกับธนาคาร) อาจต้องรับความเสี่ยงภัยทั้งหมดไว้เองหากเกิดอัคคีภัย ซึ่งจะต้องมีเงินสำรองเพียงพอที่จะรองรับกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภัยต่าง ๆ ไว้ภายในบ้าน เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง หรือเครื่องตรวจจับควัน ยังเป็นตัวช่วยทำให้ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยถูกลง และอุปกรณ์เหล่านี้ยังช่วยแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที หรือช่วยระงับและบรรเทาความเสียหายลงได้

ประกันอัคคีภัย ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่อาจเกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/others/ประกันอัคคีภัย หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 99 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน