โซลาเซลล์ คืออะไร? มีกี่ประเภท?

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

โซลาเซลล์ คืออะไร? มีกี่ประเภท?

โพสต์โดย smanpruksa » พฤหัสฯ. 06 ต.ค. 2022 3:28 pm

นอกจากจะต้องประสบกับปัญหาราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์หลากหลายปัจจัย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง และค่าดำเนินการต่างๆ พุ่งสูงขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ ค่าไฟฟ้า ที่อาจกระทบกับค่าครองชีพของประชาชนหรือแม้กระทั่งกับภาคธุรกิจเองก็ตาม ("ค่าไฟ" งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ขึ้นไหม เช็ควิธี คำนวณ ค่า FT ปรับขึ้น เท่าไร หลายครัวเรือนจึงเริ่มหันมาใส่ใจพลังงานทางเลือกอย่าง โซลาเซลล์ หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว (ค่าไฟฟ้าหน้าร้อน แพงขึ้นจากอะไร? มาเช็กกัน แล้วโซลาเซลล์คืออะไร มีกี่ประเภท

[b]โซลาเซลล์ คืออะไร?

โซลาเซลล์ หรือ เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิกอนมาผลิตเป็นแผ่นซิลิกอนบริสุทธิ์ เมื่อแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่ที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) จนมีพลังงานมากพอ เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน

พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและไม่สร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Co2) เหมือนกับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น น้ำมัน, โรงไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน จึงนับว่าเป็นพลังงาน ที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป

ข้อดีข้อเสียของเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาเซลล์

ข้อดีของระบบโซล่าเซลล์
• เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
• เป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างไม่จำกัด เพราะแสงแดดจากดวงอาทิตย์ไม่มีวันหมด
• เป็นพลังงานฟรีที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อมา เพียงแค่ติดตั้งระบบให้ได้มาตรฐานก็สามารถใช้ได้
• หากให้ไฟเหลือสามารถเข้าร่วมโครงขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
• ช่วยประหยัดค่าไฟได้ 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาดของการติดตั้ง
• มีอายุการใช้งานนาน 20 – 25 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

ข้อเสียของระบบโซล่าเซลล์

• ต้องทำการติดตั้งโดยทีมช่างผู้ชำนาญ มีประสบการณ์ ภายใต้การควบคุมจากวิศวะกร
• การผลิตไฟฟ้าในแต่ละวันอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและแสงแดด
• สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงที่มีแสงแดดเท่านั้น

โซลาเซลล์ มีกี่ระบบ ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร?

การติดตั้งระบบโซลาเซลล์ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลักๆ ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการรูปแบบของใช้งาน และเหมาะสมกับพื้นที่การติดตั้ง ดังนี้

1. ระบบออนกริด On Grid : เป็นระบบโซลาเซลล์ที่ใช้ทั้งไฟจากการไฟฟ้าและไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาเซลล์ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมาก โดยระบบนี้จะไม่มีแบตเตอรี่ไว้สำรองไฟ ผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลย ซึ่งก่อนติดตั้งโซลาเซลล์ระบบนี้จะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อนในปัจจุบันระบบนี้นิยมติดมากที่สุด

2. ระบบออฟกริด Off-Grid : เป็นระบบโซลาเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า โดยจะมีผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วใช้ได้เลยทันทีในตอนกลางวัน และที่เหลือจะมีการสำรองไว้ในแบตเตอรี่ไว้ใช้ในตอนกลางคืน (หรือเรียกว่าเป็นระบบ Stand Alone) ไม่ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า การติดตั้งด้วยระบบนี้เหมาะกับสถานที่ที่ไฟจากการไฟฟ้าไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง

3. ระบบไฮบริด Hybrid : เป็นการผสมระหว่างระบบ Off Grid และ On Grid คือ มีการเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้า ร่วมกับการใช้ไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาเซลล์ และไฟจากแบตเตอร์รี่ ในกรณีที่แผงโซลาร์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งานกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ และสามารถดึงมาใช้ในช่วงเวลากลางคืน แต่ระบบไฮบริดจะไม่สามารถขายกระแสไฟให้กับภาครัฐได้ อีกทั้งยังมีราคาการติดตั้งที่สูงมากจึงทำให้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม

ลักษณะการใช้งานของโซล่าเซลล์
เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์แสงจากดวงอาทิตย์จะทำการถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น เมื่อมีการเชื่อมต่อระบบวงจรไฟฟ้าจาก Front Electrode และ Back Electrode เข้าด้วยกันแบบครบวงจร ก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1. โซลาเซลล์สำหรับบ้านและที่พักอาศัย
เป็นการติดตั้งโซลาเซลล์บนหลังคาเพื่อใช้สำหรับบ้านพักอาศัยซึ่งมีตั้งแต่ขนาด 1 – 12 กิโลวัตต์ (kWp.) หรือ 1,000 - 12,000 วัตต์ ซึ่งก็สามารถเลือกขนาดให้เหมาะแก่การใช้งานได้ เป็นการช่วยลดภาระการใช้ไฟตอนกลางวันได้มาก 30-70% ขึ้นอยู่กับขนาดที่ต้องการติดตั้งให้ตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งโซลาเซลล์สำหรับบ้านและที่พักอาศัยนิยมติดตั้งด้วยระบบออนกริดที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบของการไฟฟ้า เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้หากใช้ไฟเหลือยังสามารถเข้าร่วมโครงการภาคประชาชนขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย

2. โซลาเซลล์สำหรับโรงงานและธรุกิจอุตสาหกรรม
การติดตั้งโซลาเซลล์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจหลายๆ คนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมต่างให้ความสำคัญในพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ต่างพากันหันมาติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน เพื่อใช้สำหรับการผลิตและเครื่องจักรต่างๆ เพราะนอกจากจะไม่เป็นมลพิษแล้วยังช่วยให้สามารถประหยัดค่าไฟไปได้แบบครึ่งต่อครึ่ง

ช่วยให้คุณอุ่นใจยิ่งขึ้น ด้วยประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้านจากสินมั่นคงประกันภัย ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ สนใจรายละเอียด คลิก

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 89 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน