เตรียมความพร้อมให้ “บ้าน” ก่อนพายุมา

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

เตรียมความพร้อมให้ “บ้าน” ก่อนพายุมา

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 03 ต.ค. 2022 3:08 pm

เมื่อถึงช่วงฤดูฝน สิ่งหนึ่งที่มักสร้างความกังวลให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ คือ พายุที่ก่อตัวขึ้นและมีแนวโน้มจะพัดผ่านในเส้นทางที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น โดยความรุนแรงของพายุแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไปตามแหล่งกำเนิดของพายุ (ทำความรู้จักกับ “พายุ” มีกี่ประเภท? เกิดได้อย่างไร? และล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้ประกาศเตือนภัยถึงระดับความรุนแรงของพายุโนรู ซึ่งจะมีกำหนดขึ้นฝั่งที่ประเทศไทยในเร็ววันนี้

[b]พายุโนรู อ่อนกำลังลง แต่ยังต้องระวัง!

กรมอุตุนิยมวิทยา (https://www.tmd.go.th/index.php) ได้ออกประกาศเตือนฉบับที่ 8 ระบุว่า ปัจจุบัน พายุไต้ฝุ่น "โนรู" ได้พัดอยู่ในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 490 กิโลเมตร จากเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันที่ 28 กันยายน 2565 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชันตามลำดับ

ทั้งนี้ คาดว่า "พายุโนรู" จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทยในวันที่ 29 กันยายน 2565 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 28 กันยายน 2565
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดสกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
• ภาคกลาง : กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
• ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
• ภาคใต้ : จังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 29 กันยายน 2565
• ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
• ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
• ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
• ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 30 กันยายน 2565
• ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น และนครราชสีมา
• ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
• ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
• ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

เตรียมบ้านพร้อมรับมือก่อนพายุเข้า
ส่วนมากแล้ว พายุมักจะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างได้โดยง่าย จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อนที่ “พายุโนรู” จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือน ดังนี้

1. ตรวจเช็กหลังคาบ้าน
หลังคาบ้านเป็นจุดที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรตรวจเช็กความแข็งแรงและคอยสังเกตอยู่เสมอว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่ ถ้าพบรอยแตกร้าวควรรีบให้ซ่อมแซมให้เรียบร้อย หรือถ้าพบจุดรั่วซึมอันเป็นสาเหตุให้น้ำหยดลงมาในบ้านได้ก็ควรจัดการให้เรียบร้อยก่อนที่พายุจะมาถึง

2. เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในสวน
หลายบ้านที่มีสวนสำหรับนั่งเล่น โดยมีการนำเอาเฟอร์นิเจอร์ไปวางตกแต่ง ในช่วงใกล้เข้าหน้าฝนหรือพายุมาแนะนำให้เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์เข้ามาภายในบ้าน เพราะการที่ฝนตกใส่เฟอร์นิเจอร์อาจทำให้เฟอร์นิเจอร์ดูเก่า หรือแตกหักพังเสียหาย ควรเคลื่อนย้ายนำมาเก็บในบ้านไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย เมื่อหมดหน้าฝนหรือหลังพายุพัดผ่านจึงค่อยนำมาจัดวางใหม่ดังเดิม

3. จัดการต้นไม้ใหญ่
บ้านที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่รอบบ้าน ควรนำไม้ที่แข็งแรงมาค้ำยันต้นไม้ใหญ่ไว้ให้แน่นหนา เพื่อให้ต้นไม้ทนต่อลมฝน เพราะถ้าเกิดพายุแล้วต้นไม้ล้มขึ้นมาอาจทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้

4. ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะยิ่งทำให้การระบายน้ำทำได้ช้าลงจนอาจเกิดน้ำท่วมขังได้ง่ายเมื่อฝนตกหนักหรือตกติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงควรตรวจเช็กท่อระบายน้ำของบ้านว่ามีเศษใบไม้หรือขยะอุดตันหรือไม่ และควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพราะหากน้ำระบายไม่ทันอาจทำให้บ้านถูกน้ำท่วมขังได้

5. ทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่
ก่อนเข้าหน้าฝนหรือก่อนมีพายุเข้า ควรต้องทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน อย่าให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ร้าย เพราะเมื่อฝนตกมักมีสัตว์ร้ายพากันอพยพมาอาศัยอยู่ตามบ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีพายุสัตว์ร้ายพวกนี้ก็มักจะมาอพยพหนีฝนมาหลบอยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแมงป่อง ตะขาบ หรือแม้กระทั่งงู จึงควรทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม จัดบ้านให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายที่มาอาศัยหลบฝน

จำนวนพายุที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนให้ทุกคนจำเป็นจะต้องเริ่มให้ความใส่ใจและพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปรากฏการณ์ “Climate Change” อย่างจริงจัง ช่วยปกป้องคุณให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ให้ประกันภัยบ้านอยู่อาศัยรักษ์บ้านให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัย บ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ที่รับความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายใน จากไฟไหม้, ฟ้าผ่า, ภัยระเบิด, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติ

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 190 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน