เครื่องกระตุกหัวใจ AED คืออะไร? มีวิธีการใช้อย่างไร?

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

เครื่องกระตุกหัวใจ AED คืออะไร? มีวิธีการใช้อย่างไร?

โพสต์โดย smanpruksa » อังคาร 27 ธ.ค. 2022 1:47 pm

“อุบัติเหตุ” มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด การเรียนรู้และทำความเข้าใจเทคนิคการช่วยชีวิตจึงเป็นทักษะสำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องฝึกปฏิบัติและเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ นอกจากการช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR แล้ว (การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ควรทำภายในเวลากี่นาที และมีวิธีการอย่างไร? https://www.smk.co.th/newsdetail/2929) การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาเป็นเครื่องทุ่นแรง ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้กับผู้ประสบภัยได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เครื่อง AED” ที่เป็นอุปกรณ์สำคัญในการกู้ชีพและต้องติดตั้งในที่สาธารณะตามกฎหมาย (บังคับใช้แล้ว! อาคารสูงทุกแห่งต้องติดเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) https://thestandard.co/zoll-aed-and-enforcing-installation-of-high-rise-buildings/) เครื่อง AED คืออะไร? และมีวิธีการใช้อย่างไร?

เครื่อง AED คืออะไร?
“เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ” หรือ AED ย่อมาจาก "Automated External Defibrillator" เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา มีหน้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวอย่างเป็นจังหวะ หรือช็อกกล้ามเนื้อหัวใจที่สั่นพลิ้วให้หยุดสั่นลงแล้วกลับมาทำงานปกติอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เมื่อพบเจอผู้หมดสติที่อาจมีอาการทางหัวใจ ด้วยการตรวจวิเคราะห์หัวใจในที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วว่าต้องรักษาโดยการช็อกด้วยเครื่องนี้หรือไม่?
ประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนสามารถใช้เครื่องนี้ได้ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AED เครื่องก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้

ใช้เครื่อง AED ในสถานการณ์ใด
แม้ว่าเครื่อง AED จะสามารถเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยได้มากกว่า 50% แต่ก็ควรจะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเท่านั้น เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
• ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง แม้ว่าจะเขย่าตัวหรือเรียกชื่อ
• ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หรือเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่รู้สึกตัว หรือเข้าข่ายว่ามีอาการของโรคหัวใจกำเริบ และหมดสติ
• ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อก และหมดสติ
จะเห็นว่าเครื่อง AED จะใช้ในผู้ป่วยที่หมดสติ ไม่รู้ตัว มีข้อบ่งชี้ถึงโรคหัวใจ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจกะทันหัน หากมีอาการดังกล่าว ควรจะรีบเข้าช่วยเหลือโดยเร่งด่วนภายใน 4 นาที เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยฟื้นคืนชีวิตได้อีกครั้งหนึ่ง

มีวิธีการใช้เครื่อง AED อย่างไร?
เครื่องกระตุกหัวใจ AED มีวิธีการใช้ดังต่อไปนี้

1. เปิดเครื่อง
เครื่อง AED บางรุ่นต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง แต่บางรุ่นก็สามารถทำงานได้ทันทีที่เปิดฝาครอบออก และเมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงจากเครื่องบอกว่าต้องทำอย่างไรอย่างเป็นขั้นตอน

2. ติดแผ่นนําไฟฟ้า เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วย
ในกรณีจําเป็น อาจต้องใช้กรรไกรหรือมีดตัดเสื้อของผู้ป่วยออก ซึ่งกรรไกรจะมีมาให้ในชุดช่วยชีวิต จากนั้นต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ โดยอาจต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้งเสียก่อน

จากนั้นให้ลอกแผ่นพลาสติกด้านหลังแผ่นนำไฟฟ้าออก แล้วติดแผ่นนำไฟฟ้าตามรูปที่แสดงไว้บนเครื่อง โดยต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว แผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลําตัว ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้าจากแผ่นนําไฟฟ้าต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย

3. ให้เครื่อง AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เครื่อง AED ส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนําไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย โดยให้ร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกำลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย” ซึ่งหากเครื่อง AED พบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้ทราบ

4. ทำการ SHOCK หัวใจผู้ป่วย
ถ้าเครื่อง AED พบและแจ้งว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ ให้เตรียมกดปุ่ม SHOCK โดยต้องแน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วยระหว่างนั้น ซึ่งควรร้องบอกดังๆ ว่า “คุณถอย ผมถอย และทุกคนถอย” ซึ่งก่อนกดปุ่ม “SHOCK” ให้มองซํ้าอีกครั้งเป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้ายด้วย เมื่อเครื่องบอกว่า ไม่ต้องช็อก หรือ “No shock is needed” หรือ “start CPR” แล้ว ให้เปิดเครื่อง AED ไว้ก่อนและให้เริ่มช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานทันที

สถานที่ควรติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ
จากการศึกษาจำนวนมาก พบว่าส่วนใหญ่ภาวะหัวใจหยุดเต้นจะเกิดนอกโรงพยาบาล หรืออยู่ระหว่างที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลันมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการแนะนำให้ติดตั้งเอาไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะหรือสถานที่ชุมนุม ทั้งห้างสรรพสินค้า สำนักงาน สถานที่ราชการ สนามกีฬา ชุมชน สวนสาธารณะ ลานกีฬาหรือสนามกีฬาต่าง ๆ หรือภายในบ้านที่มีผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีโดยบุคคลทั่วไป

ปัจจุบันได้มีการบังคับให้ตึกสูงในประเทศไทยติดตั้งเครื่อง AED เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน แต่ก็ยังมีปริมาณที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีการรณรงค์และติดตั้งตามอาคารสถานที่ที่เป็นที่สาธารณะหรือมีประชาชนไปใช้บริการจำนวนมาก

แม้ว่าทุกวันนี้การติดตั้งเครื่อง AED จะเป็นทางเลือกของเจ้าของสถานที่หรือประชาชนทั่วไป แต่การมีเครื่องติดไว้ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีทางรอดฟื้นคืนชีวิตได้ในกรณีฉุกเฉินเช่นกัน คุ้มครองคุณได้ 24 ชั่วโมง ด้วยประกันภัยอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ฃประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย โดยให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 71 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน