UCEP Plus คืออะไร? ใช้สิทธิ UCEP อย่างไร?

คุยกันได้ แวะมาทักทาย ทุกเรื่อง จับฉ่าย รวมมิตร บ้านเล็กบ้านน้อย
พูดคุยเรื่องนอกบ้าน
smanpruksa
Full Member
Full Member
โพสต์: 113
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 02 ก.ค. 2020 4:23 pm

UCEP Plus คืออะไร? ใช้สิทธิ UCEP อย่างไร?

โพสต์โดย smanpruksa » จันทร์ 14 มี.ค. 2022 11:34 am

สถานการณ์โควิดในประเทศดูจะทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีการแพร่กระจายเชื้อไปในวงกว้าง จน ศคบ. ต้องมีการประกาศยกระดับมาตรการป้องกันเป็นระดับที่ 4 อีกครั้ง (ประกาศเตือนโควิดระดับ 4 ประชาชนทำอะไรได้-ไม่ได้

ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้มีการปลดล็อกให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ได้รับสิทธิการรักษาฉุกเฉิน UCEP สามารถไปรักษาที่ รพ.เอกชน ที่ใดก็ได้ เพราะถือเป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินทั้งหมด แต่ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีการกำหนดเงื่อนไขของ UCEP สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 หรือ UCEP Plus ขึ้นแทน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร

UCEP คืออะไร?

สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองมีอยู่จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยทุกคนจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพจากภาครัฐไม่สิทธิใดก็สิทธิหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธินั้นๆ โดยในช่วงก่อนหน้านี้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 จะได้รับสิทธิการรักษาฉุกเฉิน UCEP ด้วย เนื่องจากถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน

ในปัจจุบัน โรคโควิด 19 ได้ถูกยกเลิกจากสิทธิ UCEP ในกรณีที่ติดโควิด 19 แล้วไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง แต่หากแพทย์วินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ยังสามารถได้รับการรักษาฟรีตามสิทธิประกันสุขภาพของภาครัฐที่แต่ละคนได้รับเหมือนกับโรคอื่น ๆ หรือหากมีอาการเข้าตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตก็ยังสามารถเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิ UCEP ได้

UCEP Plus คืออะไร?

UCEP พลัส คือ ระบบที่รองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ตามสิทธิ UCEP พลัสได้ กล่าวคือ

• ผู้ป่วยสีเขียวเข้ารับการรักษาที่บ้านหรือชุมชนเป็นหลัก (HI/CI First) โดยจะต้องติดตามประเมินอาการอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นเหลืองหรือแดง ก็จะส่งต่อเข้าสู่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที
• ผู้ป่วยสีเขียวที่อาการของโรคโควิดไม่ได้รุนแรง แต่มีโรคร่วมที่ควบคุมไม่ได้ ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่เช่นเดียวกัน ภายใต้นโยบาย UCEP พลัส
• ผู้ป่วยสีเหลืองที่เริ่มมีอาการปอดอักเสบทั้ง 2 ระดับ คือ ต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนแคนนูลา และต้องใช้ออกซิเจนแบบไฮโฟลว์ ให้เข้าสู่การรักษาได้ทุกที่ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
• ผู้ป่วยสีแดง ที่เป็นผู้ป่วยวิกฤติในไอซียูหรือจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บุคลากรจะมีเกณฑ์ในการประเมินอาการเพื่อนำเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนด้วยเช่นกัน

6 อาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต

นอกจาก อาการเฉพาะของโรคโควิด 19 ที่เข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉินแล้วยังมีอีก 6 อาการ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนดไว้เดิมอยู่แล้ว ได้แก่

1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP

1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและได้สิทธิ UCEP

หากจำเป็นจะต้องเรียกรถพยาบาล 1669 และเข้าข่ายได้รับสิทธิ UCEP หรือ สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้าขั้นผู้ป่วยวิกฤติ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแม้จะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเอกชน มีเงื่อนไขและข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เข้าขั้นวิกฤตสีแดง มีอาการรุนแรงหนัก คือ เป็นบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยแบบกะทันหันจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการปฏิบัติทางการแพทย์ในทันที หรืออาการของผู้ป่วยฉุกเฉินเริ่มรุนแรงขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอย่างฉับไว

2. มีการนำส่งโรงพยาบาลไม่ว่ารัฐหรือเอกชนโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 แต่หากเป็นการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลจะถือว่าไม่ได้เป็นผู้ป่วยอาการหนัก เพราะที่โรงพยาบาลแรกรับจะมีแพทย์ที่สามารถรักษาอาการฉุกเฉินได้ประจำโรงพยาบาลอยู่แล้ว การย้ายโรงพยาบาลจึงไม่เข้าข่ายการย้ายแบบผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP หรือหากโรงพยาบาลปลายทางอยู่ในสิทธิประกันสังคมของผู้ป่วยอยู่แล้ว ก็จะเป็นการใช้สิทธิประกันสังคมแทน

3. แพทย์ที่โรงพยาบาลแรกรับจะเป็นผู้ประเมินผู้ป่วยในเบื้องต้น ว่าเข้าข่ายสิทธิการรักษา UCEP หรือไม่ โดยวัดจากสัญญาณชีพ (Vital signs) และการเปลี่ยนแปลงของอาการ หากเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต แต่ในกรณีที่ผลการประเมินไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง

แม้สิทธิรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP จะรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดหลายอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่แท้จริงตามการวินิจฉัยของแพทย์ในโรงพยาบาลแรกรับ ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรให้ความใส่ใจและศึกษารายละเอียดให้แน่ชัดก่อนใช้บริการทุกครั้ง

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจากสินมั่นคงประกันภัย ที่สุดของความคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ที่ให้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก นอนโรงพยาบาลเหมาจ่ายค่ารักษาตามจริงสูงสุด 500,000 บาท ช่วยให้คุณอุ่นใจในทุกปัญหาสุขภาพ สามารถใช้สิทธิร่วมกับสิทธิอื่น ๆ ของภาครัฐได้ สนใจรายละเอียด หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 62 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน