การเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ต้นกล้า ป้องกันโรคต่างๆ การเก็บเกี่ยว

รวมความรู้ ทิป และเทคนิคทั่วไป
Sunflower_Man
Jr. Member
Jr. Member
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm

การเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ต้นกล้า ป้องกันโรคต่างๆ การเก็บเกี่ยว

โพสต์โดย Sunflower_Man » เสาร์ 14 ก.ค. 2012 4:59 pm

การเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ต้นกล้า ป้องกันโรคต่างๆ การเก็บเกี่ยว
ต้นมะพร้าวหอม.jpg
มะพร้าวหอม

1. การจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลมะพร้าวน้ำหอมที่ตรงตามพันธุ์

1.1. การเลือกพันธุ์ เลือกพันธุ์ที่ปลูกตรงตามความต้องการของตลาด มาจากแหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้ โดยตรวจสอบ จากปลายรากอ่อนของต้นพันธุ์ เมื่อขยี้ปลายรากแล้วนำมาดม หากมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตยจะเป็นมะพร้าวน้ำหอมแท้

1.2 การเลือกต้นกล้า ต้นกล้าที่ใช้ปลูกควรมีอายุ 4-8 เดือน หลังเพาะเมล็ดหรือมีใบจริงไม่น้อยกว่า 4-6ใบ หรือมีความสูงไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร หน่อพันธุ์มีลักษณะอวบ ใบกว้างสีเขียวเข้ม แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง

1.3 การจดบันทึก จดบันทึกพันธุ์ แหล่งที่มาและประวัติของต้นกล้าไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง

2 การจัดการเพื่อส่งเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงของต้นและผลผลิต

2.1 การให้น้ำ
ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์ เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก 2 สัปดาห์ (เกษตรกรต้องหาแหล่งน้ำให้เพียงพอตลอดปี)
2.2 การใส่ปุ๋ย
แม้ว่ามะพร้าวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในสภาพดินแทบทุกชนิดแต่ปริมาณผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหาร และสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าวอยู่ในช่วงระหว่าง pH 6-7 การใส่ปุ๋ยให้พอเหมาะแก่ความต้องการของมะพร้าวนั้น ควรนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการด้วย ซึ่งพบว่าในปีหนึ่ง ๆ มะพร้าวจะดูดธาตุอาหารไปใช้ ดังนี้
ไนโตรเจน 9.44-15.68 กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส 4.32-7.36 กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม 13.60-20.20 กิโลกรัมต่อไร่
แคลเซียม 13.60 กิโลกรัมต่อไร่
ในบรรดาธาตุดังกล่าว มะพร้าวจะดูดธาตุโพแทสเซียมไปใช้มากที่สุดโดยประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ ของโพแทสเซียมจะถูกนำไปใช้ในการเพิ่มจำนวน ผลผลิตของมะพร้าว

สำหรับชนิดปุ๋ยที่ใช้ได้ผลและเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้สูงสุดคือ ปุ๋ยเกรด 13-13-21 ปุ๋ยเกรด
12-12-17-2, แมกนีเซียมซัลเฟตและหินปูนโดโลไมท์ตามลำดับ ในการใช้ปุ๋ยนั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย กล่าวคือ ในสภาพดินที่มีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต และสภาพดินที่มีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้


ฤดูที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ปุ๋ยให้แก่มะพร้าว คือในช่วงต้นและปลายฤดูฝน เพราะในช่วงนี้มีความชื่นเพียงพอที่จะช่วยละลายปุ๋ยและรากของมะพร้าวกำลังเจริญเต็มที่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ดี
สำหรับ รากมะพร้าวที่สามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ดีจะอยู่บริเวณติดกับลำต้นและอยู่ห่างจากลำต้นภายในรัศมี 2 เมตร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงควรโรยหรือหว่านปุ๋ยตั้งแต่โคนต้นไปจนถึง 2 เมตรโดยรอบ แต่ถ้าเป็นมะพร้าวที่ยังเล็กอยู่ควรหว่านปุ๋ยใกล้โคนมะพร้าวเพราะรากยังน้อย หลังจากหว่านปุ๋ยแล้วควรพรวนดินตื้น ๆลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยได้คลุกเคล้ากับดินและป้องกันการชะล้าง
การเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ประเทศที่อยู่ในเขตร้อน มักมีอินทรีย์วัตถุในดินน้อยและมีการสลายตัวเร็ว เพราะมีฝนตกชุกและอุณหภูมิสูง จุลินทรีย์ในดินจะเจริญเติบโตได้ดีคอยย่อยสลายทำลายพวกอินทรีย์วัตถุอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินขาดความร่วนซุย การระบายน้ำ ระบายอากาศไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดที่ใช้ได้ผลดี เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า แล้วไถกลบหรือใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้

2.3 การกำจัดวัชพืช
- ใช้แรงงานคน โดยการถางด้วยจอบ หรือดายด้วยมีด
- ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถตัดหญ้า รถไถขนาดเล็ก
- ปลูกพืชคลุมจำพวกพืชตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียม เพอร์ราเรีย หรือเซ็นโตรซีมา โดยปลูกให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 2 เมตร

Sunflower_Man
Jr. Member
Jr. Member
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm

Re: การเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ต้นกล้า ป้องกันโรคต่างๆ การเก็บเกี่ยว

โพสต์โดย Sunflower_Man » เสาร์ 14 ก.ค. 2012 4:59 pm

3. การจัดการเพื่อผลิตมะพร้าวปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

3.1 ห้ามใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 รายชื่อวัตถุอันตรายห้ามใช้ในการเกษตรและต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาต

3.2 แมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด
- ด้วงแรด จะกัดดินยอดมะพร้าวทำให้ใบมะพร้าวขาดเป็นริ้วๆรูปสามเหลี่ยม ต่อมาทางมะพร้าวจะหักพับลงทำให้มะพร้าวโทรมหรือชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกัน
- รักษาบริเวณสวนมะพร้าวให้สะอาด ไม่สะสมที่ขยายพันธุ์ของด้วงแรด เช่น กองปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว และกองขยะ
- กำจัดต้นมะพร้าวที่ยืนต้นตาย หรือโค่นทิ้งไว้ รวมทั้งตอมะพร้าวให้หมดไปจากสวน
- ใส่ลูกเหม็นที่คอมะพร้าวบริเวณโคนทางรอบยอดอ่อน(ยอดกลม) ทางละ 2 ลูกประมาณ 6-8 ลูก/ต้น เมื่อมะพร้าวอ่อนอายุ 3-5 ปี

การกำจัด
- ตรวจพบรอยเจาะเข้าทำลายที่ยอดอ่อน ใช้เหล็กแหลมแทงตามเข้าไปในรู เพื่อทำลายตัวด้วงแรดที่ซุกตัวกินอยู่ภายใน
- ใช้ต้นมะพร้าวที่ตาย หรือโค่นทิ้งไว้ตัดทอนเป็นท่อนยาวประมาณ 120 เซนติเมตร วางเป็นกับดักในบริเวณสวน เพื่อชักนำให้ด้วงแรดมาวางไข่ภายในท่อน แล้วผ่าลำต้นเผาเพื่อทำลายหนอนได้ทั้งหมด
- ด้วงงวงมะพร้าว หรือด้วงไฟตัวหนอนจะกัดกินส่วนอ่อนของมะพร้าวเช่น ยอดอ่อนหรือโคนมะพร้าว ทำให้มะพร้าวแคระแกรน ใบหดสั้น ใบอ่อนร่วงหล่น ดอกมะพร้าวเน่าและตายในที่สุด ตัวเต็มวัยจะกัดกินและวางไข่ที่ส่วนอ่อนบริเวณคอมะพร้าวเพื่อขยายพันธุ์อยู่ภายในทำให้เกิดการเน่าและใบมะพร้าวจะเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด ด้วงแรดให้หมดไปจากสวนมะพร้าวก่อน เพราะด้วงแรดจะทำลายยอดมะพร้าวจนเกิดบาดแผล เป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าไปขยายพันธุ์ต่อเนื่องได้
- แมลงดำหนามมะพร้าว สันนิษฐานว่าแพร่กระจายและติดมาจากการขนส่งพันธุ์ปาล์ม น้ำมันจากต่างประเทศ ปัจจุบันระบาดหนักทางภาคใต้ของประเทศไทยจัดเป็นด้วงปีกแข็งชนิด Coconut Hispine ขนาด 10 มิลลิเมตร ปีกสีเหลืองส้ม ชนิดพบในประเทศไทยเป็นชนิดที่เรียกว่า Plesispa recheri จะซ่อนตัวอยู่ในใบอ่อนที่พับอยู่ แล้วจะย้ายไปกินยอดอ่อนต่อไป ทำให้ยอดมะพร้าวมีสีขาวโพลนเป็นโรคที่เรียกว่า โรคหัวหงอก

การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดแมลงดำหนามของเกษตรกรที่ผ่านมา คือการฉีดพ่นสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายกับตัวผู้ฉีดและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การฉีดสารเคมีก็เป็นไปด้วยความยากลำบากกรมวิชา
การเกษตร จึงได้ศึกษาทดลองใช้แตนเบียนชนิด A.hispinarum เพื่อช่วยในการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวพบว่าได้ผลค่อนข้างดี เนื่องจากแตนเบียนชนิดดังกล่าวจะเข้าทำลายแมลงดำหนามช่วงระยะเป็น ตัวหนอน แตนเบียนจะเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวหนอน ทำให้หนอนตายกลายเป็นสีดำ หรือที่เรียกว่ามัมมี่ ทำให้ตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนามเป็นอย่างดี สามารถติดต่อขอข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิไลวรรณ เวชยันต์ กลุ่มกฎีและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-7542

4 การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพดี
ลักษณะมะพร้าวน้ำหอมที่เก็บเกี่ยวกันมีอยู่ 3 แบบ คือ มะพร้าวชั้นเดียว มะพร้าวชั้นครึ่งและมะพร้าวสองชั้น รายละเอียดของแต่ละชนิดมีดังต่อไปนี้
มะพร้าวชั้นเดียว หมายถึง มะพร้าวน้ำหอมที่เพิ่งมีเนื้อบางเล็กน้อย การเกิดเนื้อของมะพร้าวจะเกิดบริเวณก้นผลอ่อน แล้วหนาขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงหัวผล มะพร้าวชั้นเดียวเนื้อจะบางมาก เนื้อจะเป็นวุ้นๆ จะมีเนื้อบางๆติดอยู่เพียงครึ่งผลเท่านั้น ความหวานของน้ำมะพร้าวประมาณ 5-5.6 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ นับอายุตั่งแต่จั่นปิดประมาณ 170วัน (5เดือน3สัปดาห์)มะพร้าวชั้นเดียวเป็นมะพร้าวที่อ่อนเกินไปยังไม่เหมาะที่จะตัดมาจำหน่าย
มะพร้าวชั้นครึ่ง หมายถึงมะพร้าวน้ำหอมที่มีเนื้อจนเกือบเต็มผล เนื้อเป็นวุ้นบางเต็มผล ความหวานของน้ำมะพร้าวประมาณ 6-6.6 เปอร์เซ็นต์บริกซ หรือใช้วิธีนับอายุตั่งแต่จั่นเปิดประมาณ 180วัน (6เดือน1สัปดาห์) มะพร้าวชั้นครึ่งผู้บริโภคภายในประเทศชอบเพราะเมื่อทานน้ำมะพร้าวหมดแล้วสามารถใช้ช้อนตักทานเนื้อได้ด้วยแต่มะพร้าวน้ำหอมที่จะส่งออกต่างประเทศต้องเป็นมะพร้าวสองชั้น
มะพร้าวสองชั้น เป็นมะพร้าวน้ำหอมมีเนื้อเต็มผลแล้ว แต่ยังไม่แก่เกินไปหรือไม่แก่จนเนื้อภายในผลแข็ง ความหวานของน้ำมะพร้าว 7-8 เปอร์เซนต์บริกซ์ อายุต่งแต่จั่นเปิดประมาณ 190-200 วัน (6เดือน3สัปดาห์) มะพร้าวสองชั้นเป็นช่วงที่น้ำในผลมีเปอร์เชนต์ความหวานที่เหมาะแก่การทานผลสดที่สุด ถ้าปล่อยให้แก่กว่านี้น้ำในผลจะซ่าๆ เมื่อทานน้ำมะพร้าวก็จะรู้ทันที

การเก็บเกี่ยวมะพร้าวน้ำหอมมี 4 วิธี คือ
1. .นับทะลาย มะพร้าวน้ำหอมจะแทงจั่นประมาณ 20 วันต่อหนึ่งจั่น หรือทุกครั้งที่มีทางใหม่ขึ้นมา ถ้านับเอาทะลายที่จะเก็บเกี่ยวเป็นทะลายที่หนึ่ง แล้วนับทะลายที่ออกตามมาเป็นอันดับที่สอง ที่สามเรื่อยๆ เมื่อจั่นที่ 12 แทงออกมาและกาบหุ้มยังไม่เปิด ก็จะเป็นระยะเวลาที่มะพร้าวทลายแรกอยู่ในระยะเป็นมะพร้าวสองชั้นพอดี
2. สังเกตจากหางหนู มะพร้าวที่มีผลแก่จัดจนกะลามีสีดำ หางหนูจะแห้งตั้งแต่ขั้วผลไปจนจดปลาย มะพร้าวอ่อนหางหนูจะแห้งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งยังสดอยู่ วิธีนี้อาจคลาดเคลื่อนได้ในฤดูร้อนที่แดดจัดมากๆ เพราะหางหนูจะแห้งก่อนกำหนด
3. สังเกตจากสีผล บริเวณรอยต่อของขั้วกับตัวผลมะพร้าวอ่อนจะมีสีขาวเป็นวงรอบขั้วผล ถ้าสีขาวเป็นวงกว้างก็แสดงว่ามะพร้าวอ่อนอยู่มาก ต่อเมื่อวงสีขาวบริเวณรอยต่อเหลือเพียงเล็กน้อยพอเป็นวงรอบขั้วก็แสดงว่าได้ระยะเก็บเกี่ยวพอดี อย่างไรก็ตามมะพร้าวที่มาทะลายอยู่ใในด้านที่ได้รับแสงมากอาจสังเกตวงดั่งกล่าวคลาดเคลื่อนได้เช่นเดียวกัน
4. สังเกตจากจั่นที่อยู่เหนือขึ้นไป มะพร้าวจะมีทางเรียงเป็นชุดจำนวน 5 ชุด ทางมะพร้าวที่เกิดขึ้นต่อๆมาจะช้อนทับในแนวเดียวกันกับทางเดิมในะรวางทางแต่ละชุดจึงเป็นช่องว่างให้มองลอดขึ้นไปได้ ปกติทะลายมะพร้าวจะนั่งทางทุกทะลาย ถ้าทะลาย ล่างสุดคือทะลายที่เก็บเกี่ยว จะสังเกตเห็นทะลายที่อยู่เหนือขึ้นไปยังเป็นมะพร้าวที่อ่อนมาก และที่เหนือขึ้นไปอีกทางหนึ่งบนซอกทางนี้จะมีจั่นใหม่แทงขึ้นมา ให้จั่นใหม่ที่นับเป็นลำดับที่สามจากทะลายที่ต้องการ จุดสังเกตคือ ถ้ากาบหุ้มจั่นเพิ่งแตกออก หากเก็บเกี่ยวขณะนั้นจะได้มะพร้าวชั้นเดียว ถ้าจั่นแตกออกและบานเต็มที่แล้วทะลายล่างสุดที่จะเก็บเกียวจะเป็นมะพร้าวชั้นครึ่ง ถ้าปล่อยให้บานเต็มที่และมีผลเล็กๆที่โคนจั่นมีสีเขียวเล็กน้อย หากเก็บเกี่ยวขณะนั้นก็จะได้มะพร้าวสองชั้นชึ่งเป็นระยะที่ตลาดต้องการ
5. การเก็บเกี่ยวมะพร้าวน้ำหอมจะแตกต่างจากการเก็บเกี่ยวมะพร้าวแก่ เพราะมะพร้าวแก่จะใช้แรงงานคนหรือแรงลิงปลิดลงมาทีละผล แต่มะพร้าวน้ำหอมจะตัดลงทั้งทะลายไม่แยกเก็บทีละผล แต่มะพร้าวน้ำหอมจะตัดลงทั้งทะลายไม่แยกเก็บทีละผล มะพร้าวน้ำหอมเก็บขณะที่ยังอ่อนอยู่ กะลายังไม่แข็งมากพอ การปล่อยให้หล่นลงพื้นอาจทำให้ผลแตก จึงควรใช้เชือกโยงทะลายไว้ให้แข็งแรงและค่อย ๆ หย่อนลงพื้น


ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 150 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน