ช่างไฟต้องรู้! หลักการติดตั้งคาปาซิเตอร์และการคายประจุที่ถูกต้อง

รวมความรู้ ทิป และเทคนิคทั่วไป
strategist_cotactic
Newbie
Newbie
โพสต์: 6
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร 05 พ.ค. 2020 11:45 am

ช่างไฟต้องรู้! หลักการติดตั้งคาปาซิเตอร์และการคายประจุที่ถูกต้อง

โพสต์โดย strategist_cotactic » พฤหัสฯ. 18 พ.ค. 2023 11:43 am

รูปภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภดล วิวัชรโกเศศ
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 (วสท. 022001-22) ได้กำหนดหลักการติดตั้งคาปาซิเตอร์เพื่อปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า หรือค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor, PF.) ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำ (พิกัดแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์) ให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หลักการติดตั้งคาปาซิเตอร์
คาปาซิเตอร์ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้าแรงต่ำต้องจัดให้มีวิธีการคายประจุ เมื่อปลดคาปาซิเตอร์ออกจากวงจรไฟฟ้า ซึ่งแรงดันตกคร่อมคาปาซิเตอร์ต้องลดลงเหลือไม่เกิน 75 โวลต์ ภายในระยะเวลา 3 นาทีนับจากเวลาที่ปลด โดยใช้วงจรคายประจุที่ต่ออยู่อย่างถาวร หรือใช้ชุดอุปกรณ์คายประจุที่จะต่อเข้ากับขั้วของชุดคาปาซิเตอร์ชนิดแบบอัตโนมัติ เมื่อปลดคาปาซิเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าเท่านั้น ห้ามใช้สวิตช์หรือระบบควบคุมวงจรคายประจุชนิดด้วยมือ

วงจรคาปาซิเตอร์
ขนาดตัวนำหรือสายไฟของวงจรคาปาซิเตอร์ (Iz) ต้องมีค่าความสามารถในการนำกระแสของสาย (ขนาดกระแส) ไม่น้อยกว่า 1.35 เท่าของพิกัดกระแสคาปาซิเตอร์ หากกรณีที่คาปาซิเตอร์ต่อกับวงจรมอเตอร์โดยตรง (Compensation by individual or sector) มาตรฐาน วสท. 022001-22 ยังระบุเพิ่มเติมว่า ตัวนำหรือสายไฟของวงจรคาปาซิเตอร์ต้องมีขนาดกระแสไม่น้อยกว่า 1/3 ของขนาดกระแสของสายวงจรมอเตอร์ด้วยเช่นกัน

หากวิศวกรไฟฟ้า หรือช่างไฟท่านใดต้องการตู้ไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐาน สามารถดูรายละเอียด หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 52 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน