วิธีเลือกกู้สินเชื่อ "ต่อเติม-ตกเเต่งบ้าน"

รวมความรู้ บทความ วิธีการเลือกซื้อบ้าน ที่อยู่อาศัย การตกแต่งบ้าน การดูแล คอนโด
h2ndforyou
Newbie
Newbie
โพสต์: 15
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 04 ม.ค. 2019 4:20 pm
ติดต่อ:

วิธีเลือกกู้สินเชื่อ "ต่อเติม-ตกเเต่งบ้าน"

โพสต์โดย h2ndforyou » พุธ 30 ม.ค. 2019 4:11 pm

รูปภาพ

“สินเชื่อต่อเติม-ซ่อมแซม-ตกแต่งบ้าน” หรือซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน เป็นบริการเงินกู้รูปแบบหนึ่งของธนาคาร ใครที่กำลังอยากจะต่อเติมหรือคิดจะตกเเต่งบ้าน เเต่ไม่มีเงินในกระเป๋าเลย นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกเลย!
หลายคนอาจจะงงว่าทำไมมันมีชื่อเเตกต่างหลากหลายเหลือเกิน เวลาไปยื่นกู้เเต่ละธนาคารก็จะเเเตกต่างกัน ตามเเต่ละเเห่งจะตั้ง เเต่จุดประสงค์มีเพียงหนึ่งเดียว! หรือจะเรียกรวมๆ ว่า “สินเชื่ออเนกประสงค์” ก็ได้ ซึ่งการกู้สินเชื่ออเนกประสงค์ก็จะใช้บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดฯ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้

ประเภทของสินเชื่อ
แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบก็คือ
- สินเชื่อแบบวงเงินกู้ระยะยาว
- สินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D)

หลักการและเงื่อนไขการกู้
หลักการเเละเงื่อนไขการกู้ของสินเชื่อทั้งสองประเภทจะคล้ายกับการกู้สินเชื่อบ้านเลย หลักๆ ก็คือ “จะต้องมีบ้านเป็นของตัวเอง จะยังผ่อนชำระอยู่ก็ได้ เเล้วนำบ้านมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน” เเต่ก็ยังมีส่วนที่เเตกต่างกันนั่นก็คือ “การคิดดอกเบี้ย วงเงินกู้ เเละระยะเวลากู้”
โดยสินเชื่อแบบวงเงินกู้ระยะยาวจะเหมือนกับการกู้สินเชื่อบ้าน เเต่ระยะกู้สั้นกว่า ส่วนใหญ่ประมาณ 5-15 ปี (ขึ้นอยู่กับหลักประกันที่นำมากู้)

กรณีวงเงินกู้ลูกค้าใหม่ หรืออยากรีไฟแนนซ์ (ที่กู้สินเชื่อบ้านด้วย) ธนาคารจะให้วงเงินกู้เพิ่มจากวงเงินสินเชื่อบ้านประมาณ 5-50% กรณีลูกหนี้เดิมของธนาคารที่ผ่อนชำระธนาคารไปแล้ว 2-3 ปีขึ้นไป
ส่วนวงเงินกู้ กรณีลูกค้าใหม่ หรือรีไฟแนนซ์ (ที่กู้สินเชื่อบ้านด้วย) ธนาคารจะให้วงเงินกู้เพิ่มจากวงเงินสินเชื่อบ้านประมาณ 5-50%
เเต่ถ้าเป็นกรณีลูกหนี้เดิมของธนาคารที่ผ่อนชำระเงินกู้กับธนาคารไป 2-3 ปีขึ้นไป (แล้วแต่ธนาคารกำหนด) สามารถขอกู้เพิ่มได้อีก 10-25% ของวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ หรือให้เท่ากับวงเงินที่ผ่อนชำระไปแล้ว แต่ธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดวงเงินกู้ที่ขอกู้เพิ่มว่าเมื่อรวมกับยอดหนี้เดิมแล้วต้องไม่เกิน 80-100% ของราคาประเมิน
การคิดอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยบวกเงินต้น แล้วกำหนดให้ลูกค้าผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนเท่ากันทุกเดือน โดยจะมีทั้งแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1-5 ปี ในระยะแรก หลังจากนั้นก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงกับ MLR (อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี) ของธนาคาร หรือ MLR บวก-ลบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน
ข้อจำกัด
แต่การกู้แบบนี้จะมีข้อจำกัดนะ คือ ธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้ เช่น เฉพาะเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่ง ต่อเติม หรือซ่อมแซมบ้านเท่านั้น ห้ามเอาไปทำอย่างอื่น!
ข้อดี
ไม่ได่มีเเต่ข้อเสีย ข้อดีก็ยังมีนะ นั่นก็คืออัตราดอกเบี้ยจะถูกกว่าสินเชื่อแบบวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) และระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินกู้นานกว่า ทำให้ภาระในการชำระเงินงวด/เดือนของผู้กู้ไม่หนักจนเกินไป

ส่วนสินเชื่อแบบวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนส่วนตัว ส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่กำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้ ไม่จำกัดเฉพาะเจาะจงว่าจะนำเงินไปใช้จ่ายอะไร และไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น ซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ซื้อรถยนต์ เครื่องตกแต่งบ้าน เพื่อการท่องเที่ยว หรือเพื่อการลงทุนต่างๆ เป็นต้น
วงเงินให้กู้กรณีขอกู้เฉพาะวงเงิน O/D วงเงินกู้จะอยู่ที่ประมาณ 5-50% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน กรณีที่ผู้กู้มีบัญชีเงินกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารอยู่แล้ว และต้องการกู้วงเงิน O/D ธนาคารจะกำหนดวงเงินกู้เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยแล้ว ต้องไม่เกิน 90-120% ของราคาประเมินหลักประกัน โดยวงเงินที่ได้จะขึ้นอยู่กับประเภทของหลักประกันที่ผู้กู้นำมาเป็นค้ำประกันด้วย
ส่วนกรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้จะต่ำกว่า เพราะอนุมัติวงเงินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรายได้ และความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้ของผู้กู้ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดวงเงินขั้นต่ำและวงเงินสูงสุดเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 6-10 ของรายได้/เดือน
การคิดอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงกับ MLR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี) หรือ MOR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี) บางธนาคารอาจจะคิด MLR,MOR บวกหรือลบอีก 1% หรือ 2% (แต่ละธนาคารแตกต่างกัน) โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะจากยอดเงินที่มีการเบิกใช้จริงเท่านั้น
ข้อจำกัด
ข้อจำกัดของการกู้รูปแบบนี้ คือ ธนาคารส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติเงินกู้เพิ่มเติมจากวงเงินสินเชื่อปกติ ก็ต่อเมื่อผู้กู้มีประวัติการผ่อนชำระที่ดีมาระยะหนึ่ง และวงเงินกู้ที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดของผู้กู้ด้วย
ข้อดี
ส่วนข้อดีคือก็คือบางครั้งผู้กู้ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน โดยธนาคารจะพิจารณาจากรายได้เป็นหลัก และกำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำและสูงสุด ส่วนใหญ่ไม่เกิน 6-10 เท่าของรายได้/เดือน

ทั้งนี้รายละเอียดเงื่อนไขการขอกู้ “สินเชื่ออเนกประสงค์” ทั้งสองรูปแบบเป็นเพียงภาพรวมที่ธนาคารส่วนใหญ่ใช้พิจารณาอนุมัติเท่านั้นนะ ส่วนจะตัดสินใจเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับตัวเราที่จะต้องพิจารณาให้ตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุด

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 21 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน