สร้างบ้านไม่ตอกเสาเข็มได้หรือไม่

รวมความรู้ บทความ วิธีการเลือกซื้อบ้าน ที่อยู่อาศัย การตกแต่งบ้าน การดูแล คอนโด
around me
Newbie
Newbie
โพสต์: 21
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 17 พ.ย. 2017 3:32 pm

สร้างบ้านไม่ตอกเสาเข็มได้หรือไม่

โพสต์โดย around me » ศุกร์ 25 ม.ค. 2019 4:32 pm

รูปภาพ
เวลาเราจะสร้างบ้านก็ต้องตอก “เสาเข็ม” เพื่อรับน้ำหนักบ้านทั้งหลังไว้ ไม่ให้ทรุดตัวลงไปในอนาคต เเต่ก็มีคำถามขึ้นมาว่าเห็นบ้านจัดสรรในโครงการเเห่งหนึ่งที่ต่างจังหวัด ไม่ได้ตอกเสาเข็มก่อนทำฐานราก ก็เลยเกิดข้อสงสัยว่าจำเป็นจะต้องเสาเข็มหรือไม่?
คำตอบก็คือ… “ได้ค่ะ” ถ้าสภาพบริเวณที่จะสร้างบ้านเป็นชั้นดินเเข็งมาก (ชาวบ้านอาจะเรียกว่าดินดาน) หรืออาจมีชั้นหินแข็งอยู่ใต้ผิวดินลงไป ซึ่งสภาพดินดังกล่าวส่วนมากเป็นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก รวมถึงภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่มีภูเขาหรือเป็นที่ราบสูงจากการยกตัวของแผ่นดิน (อีสาน) ยกเว้นภาคกลางและภาคตะวันออกบางพื้นที่ที่สภาพชั้นดินเป็นดินตะกอนปากอ่าวทับถมเป็นชั้นๆ
เเต่ก็ไม่ได้ความว่าโครงสร้างทุกประเภทที่มีชั้นดินเเข็งไม่ต้องตอกเสาเข็มนะคะ เพราะต้องสำรวจชั้นดินที่ก่อสร้างก่อนว่าเป็นอย่างไร วิศวกรจึงจะออกแบบฐานรากได้ว่าต้องตอกเสาเข็มหรือไม่ ทีนี้เรามาขยายความเรื่องการรับน้ำหนักของเสาเข็มกันเพิ่มดีกว่าค่ะ

การรับน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ
1.การรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสของเสาเข็มกับดิน
2.การรับน้ำหนักด้วยแรงกดลงถ่ายลงในชั้นดินแข็งหรือชั้นหิน
ตัวอย่างของบ้านทั่วไปในเขตกรุงเทพฯ วิศวกรจะคำนวณออกแบบให้เสาเข็มรับน้ำหนักด้วยแรงเสียดทาน ซึ่งความยาวเสาเข็มจะประมาณ 12-21 เมตรเป็นส่วนมาก ยกเว้นอาคารขนาดใหญ่จะต้องออกแบบให้รับน้ำหนักด้วยแรงกดที่ชั้นดินแข็งที่ความลึกอาจถึงประมาณ 50 เมตร
กรณีที่ไม่ใช้เสาเข็มก็จะเป็นการออกแบบให้ถ่ายน้ำหนักลงบนชั้นดินแข็ง ซึ่งวิศวกรต้องทราบว่าชั้นดินแข็งบริเวณดังกล่าวรับน้ำหนักได้เท่าไร สมมติรับน้ำหนักได้ 10 ตันต่อตารางเมตร และน้ำหนักที่คำนวณได้ลงที่จุดนั้นเท่ากับ 20 ตัน ก็ต้องออกแบบฐานราก (เรียกว่าฐานรากแผ่) ให้พื้นที่สัมผัสดินเท่ากับ 2 ตารางเมตร ซึ่งจะรับน้ำหนักได้ 2x10 = 20 ตัน ตามการออกแบบ
ตัวอย่างของการกระจายน้ำหนักโดยการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสที่เห็นได้ชัด ก็คือการแสดงมายากลด้วยการนอนบนเตียงตะปู ซึ่งหลักการก็คือการกระจายน้ำหนักกดลงบนตะปูจำนวนมากนั่นเอง
นอกจากนั้นก็มีเรื่องการวางถังเก็บน้ำ แนะนำว่าถ้าบ้านมีพื้นที่พอให้วางบนดินจะดีกว่า เนื่องจากหากฝังถังไว้ใต้ดินเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งก็อาจะมีการทรุดตัวของถัง ทำให้ระบบท่อที่ต่ออาจขาดได้ และซ่อมได้ยากกว่าการวางบนดิน หรือถ้าถังน้ำใต้ดินเกิดแตกร้าวรั่วซึมน้ำภายนอกอาจซึมเข้าถังเก็บได้ และกลายเป็นปัญหาได้เช่นกัน

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 25 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน