ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ ค่าจ้างทำของ

รวมความรู้ ทิป กฏหมาย อสังหาริมทรัพย์ Real Estate law
ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ ค่าจ้างทำของ

โพสต์โดย ลุงหนวด » อังคาร 12 ต.ค. 2010 7:55 pm

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ ค่าจ้างทำของ

ค่า อะไหล่และค่าแรง ผู้จ่ายเงินได้จะหักภาษีอย่างไรจึงจะถูกต้อง ซึ่งกรณีนี้ ถือว่าเป็นการจ้างทำของ ผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าอะไหล่และค่าแรงทั้งหมด ไม่ว่าผู้รับจ้างจะแยกบิลเรียกเก็บแต่ละรายการหรือบิลเรียกเก็บใบเดียวกัน แต่แยกรายการค่าแรงและค่าอะไหล่ก็ตาม

อีก ประเด็นหนึ่งที่มักผิดพลาดก็คือ การผลิตกับการรับจ้างทำของ หากผู้รับเงินได้ได้ผลิตสินค้าโดยอาชีพอยู่แล้ว เช่น ผลิตขวดพลาสติกขาย และผู้ว่าจ้างให้ผลิตขวดพลาสติกให้ เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้าง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ไม่ว่าขวดพลาสติกที่ผลิต จะมีโลโก้เป็นของผู้ว่าจ้างหรือไม่ แต่ถ้าหากผู้ว่าจ้างนำวัตถุดิบไปให้ผู้รับจ้างผลิตขวดพลาสติกให้ เมื่อจ่ายค่าจ้าง ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

ผู้ จ่ายเงินได้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละครั้งที่จ่ายเงินด้วย สำหรับผู้รับจ้างที่ถูกหักภาษี สามารถนำภาษีที่ถูกหักไว้ไปเครดิตออกจากภาษีที่ต้องชำระ เมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปีหรือประจำปีได้การประกอบธุรกิจขายสินค้า หรือให้บริการ มักมีธุรกรรมเกี่ยวกับการจ้างทำของมาเกี่ยวข้องเสมอ ?การจ้างทำของ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 587 กล่าวว่า ?สัญญา ที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่อีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้าง เพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำ? ซึ่งสาระสำคัญจะไม่ใช่การจ้างแรงงาน แต่หวังผลสำเร็จของงาน งานไม่เสร็จ ไม่จ่ายเงิน และมีอิสระในการทำงาน ไม่ผูกพันแบบการจ้างแรงงาน

ประมวล รัษฎากร ได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างทำของ เมื่อจ่ายเงินได้ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3 ของเงินได้ที่จ่ายเว้นแต่ผู้รับเงินได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบการในไทยไม่ถาวรผู้จ่ายเงินได้ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 5

กิจการ ประเภทใด ที่เป็นการรับจ้างทำของ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้จ่ายเงิน เนื่องจากประมวลรัษฎากรไม่ได้ระบุไว้ให้ชัดแจ้ง ธุรกิจมีหลากหลายประเภท ต้องอาศัยดูคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร คำพิพากษาฎีกา ตัวอย่างของการรับจ้างทำของ เช่น รับจ้างพิมพ์เอกสาร รับเหมาก่อสร้าง รับตัดแต่งผม รับตัดเสื้อผ้า ซ่อมรถยนต์ ซ่อมเครื่องจักร รับกำจัดปลวก บริการรักษาความปลอดภัย บริการบูธแสดงชั่วคราว เป็นต้น

ประเด็น ที่ผู้จ่ายเงินได้ มักปฏิบัติผิดพลาดเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น กรณีการจ้างซ่อมรถยนต์ หากผู้รับจ้างเรียกเก็บเงินค่าจ้างโดยระบุเป็นค่าจ้างซ่อมรถยนต์ทั้งหมด ก็คงไม่มีปัญหาสำหรับผู้จ่ายเงินได้แต่ถ้าผู้รับจ้างแยกรายการเป็น

ข้อ สังเกต การหักภาษีในกรณีรับจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเงินที่เป็นผู้ว่าจ้าง เป็นบุคคลธรรมดา เมื่อจ่ายเงินไม่ต้องหักภาษีแต่อย่างใด แต่ผู้รับจ้างที่ถูกหักภาษี อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

ครับ การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้หลากหลายอัตราและหลากหลายประเภทเงินได้ ทำให้ปฏิบัติผิดพลาดกันมาก ท่านสามารถค้นคว้าหาดูได้ในมาตรา 3 เตรส (ท.ป. 4/2528) มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ มาตรา 69 ตรี มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.rd.go.th ของกรมสรรพากร



ข้อมูล : นสพ. โพสต์ทูเดย์

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 55 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน