วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

รวมความรู้ ทิป และเทคนิคทั่วไป
Sunflower_Man
Jr. Member
Jr. Member
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm

วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย Sunflower_Man » เสาร์ 14 ก.ค. 2012 6:51 pm

วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง
ข้าวโพดหวาน.jpg
ข้าวโพดหวาน

1. การจัดการผลิตข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของตลาดหรือโรงงานอตุสาหกรรม

1.1 การเลือกพันธุ์

พันธุ์ส่งเสริม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1.1 พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ ฮาวายเอื้อนซูการ์ซุปเปอร์สวี ซุปเปอร์สวีทดีเอ็มอาร์และไทยซุปเปอร์คอมพอสิต 1 ดีเอ็มอาร์ จุดเด่น คือเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดใช้ทำพันธุ์ต่อได้ จุดด้อย ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอ
1.1.2 พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ เอทีเอส 2 ซูการ์ 74 ซูการ์ 73 ไฮบริกซ์ 3 ไฮบริกซ์ 10 อินทรีย์ 2 พันธุ์หวานทองจุดเด่น ลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ความสูงของต้น ความสูงของฝัก ขนาดฝัก อายุวันออกไหมและเก็บเกี่ยวพร้อมกัน ให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ 1.5 - 2 ตัน จุดด้อย ไม่สามารถ
เก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้

1.2 การปลูกและดูแลรักษา

1.2.1 การวิเคราะห์ดินก่อนปลูก
ถ้าดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้ใส่ปูนขาวอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถพรวนดิน และถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 ก่อนพวนดินให้ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 500 - 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกถั่วเขียวอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ หรือปลูกถั่วพร้าอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหลังเก็บผักข้าวโพดหวานแล้วไถกลบต้นข้าวโพด เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
1.2.2 การเตรียมดินบนพื้นที่ราบ
ทำการไถด้วยพาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน พรวนดินด้วยผาลเจ็ดอีก 1 ครั้ง เพื่อย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วไถยกร่องพร้อมปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร ถ้าปลูกแถวเดี่ยวให้มีระยะระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ถ้าปลูกแถวคู่ระหว่างร่องระยะห่าง 120 เซนติเมตร ระยะห่างหลุม 25 เซนติเมตร

1.2.3 การเตรียมดินปลูกบนร่องสวน
เป็นการปลูกบนร่องสวนในที่ลุ่ม โดยยกร่องกว้าง 4-5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ใช้รถไถดินเดินตามหรือใช้จอบพลิกหน้าดินลึก 15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก 500 - 1,000 กิโลกรัม/ไร่ แล้วย่อยดินด้วยแรงคน จึงปลูกโดยใช้ระยะปลูก ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร หลอดหลุมละ 2-3 เม็ด อายุ 14 วัน ถอนเหลือ 2 ต้น/หลุม
1.2.4 การใส่ปุ๋ย
ในกรณีการวิเคราะห์ดินแล้ว พบว่า ดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 ให้ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะเตรียมดิน และให้ปุ๋ย 2 ระยะ คือ
1) ใส่รองพื้นพร้อมปลูก ในดินร่วนใช้สูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วนปนทรายใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่
2) ใส่เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นหรือข้างแถว แล้วพรวนดินกลบ
1.2.5 การให้น้ำ
ให้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหวาน หรือหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ในช่วงผสมเกษร และติดเมล็ดอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้คุณภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง
1) แบบพ่นฝอย ให้ทุก 7-10 วัน ในฤดูแล้งให้ทุก 3-5 วัน
2) การให้น้ำตามร่อง ให้ทุก 7-10 วัน ในฤดูแล้งดินร่วนปนทรายทุก 3-5 วัน

Sunflower_Man
Jr. Member
Jr. Member
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 06 มิ.ย. 2012 3:45 pm

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย Sunflower_Man » เสาร์ 14 ก.ค. 2012 6:51 pm

2. ผลผลิตข้าวโพดหวานให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
ศัตรูของข้าวโพดฝักหวานและการป้องกันกำจัด

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้างหรือใบลาย
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อถี่ ต้นแคระแกรน ใบเป็นทางสีขาว สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดของคืนที่มีฝนตกและอากาศค่อนข้างเย็น ถ้าระบาด รุนแรง
ต้นจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝัก หรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด เชื้อราติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ
ช่วงเวลาระบาดรุนแรงในฤดูฝน ที่มีอุณหภูมิต่ำหรือความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
- ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และนครปฐม ต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แห้งสนิท ถ้าความชื้นเมล็ดสูงกว่า 10% จะมีเชื้อโรคติดมากับเมล็ด
- ถอนต้นที่แสดงอาการเป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- ทำลายพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น

สำหรับโรคราน้ำค้างหรือใบลาย ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือเมตาแลกซิล (35 % ดีเอส) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกปริมาณ 7 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม

โรคใบไหม้แผลเล็ก
สาเหตุ ชื้อรา
ลักษณะอาการ ระยะแรกเกิดจุดเล็ก ๆ สีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายไปตามเส้นใบเกิดเป็นแผลไหม้ บริเวณกลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล ขนาดของแผลไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เกิดกับใบล่าง เชื้อราติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในปลายฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งแปลงที่มีโรคระบาด
- เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช

สำหรับโรคใบไหม้แผลเล็ก ค วรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือ บาซิลัส ซับทิลิส ปริมาณ 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยการพ่นเมื่อข้าวโพดหวานมีอายุ 7 วัน พ่นซ้ำทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง และหยุดการใช้สารก่อนเการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ ไตรโฟรีน (20 % อีซี) ปริมาณ 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
ใช้พ่นเฉพาะบริเวณที่เป็นโรค

โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรกพบเป็นแผลจุดนูนสีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในปลายฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว ที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลงปลูก
- พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

สำหรับโรคราสนิม ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือ ไดฟีโนโคนาโซล (25 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร โดยการพ่นเมื่อเริ่มพบการทำลายเฉาพะบริเวณที่เป็นโรค

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ลักษณะและการทำลายเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีทองแดง กางปีกกว้างประมาณ 3.0 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดหวานอายุ 20 วันถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยเจาะเข้าทำลายส่วนยอด ช่อดอกตัวผู้ และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรง จะเข้าทำลายฝัก พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลา
การป้องกันกำจัด
- ควรสำรวจกลุ่มไข่ หนอน รูเจาะ และยอดที่ถูกทำลายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงข้าวโพดหวานอายุ 20-45 วัน
- เมื่อเริ่มพบการทำลาย ควรทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด สามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (15% อีซี) ปริมาณ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรฟลูมูรอน (25 %ดับบริวพี) ปริมาณ 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้เมื่อพบยอดข้าวโพดหวานถูกทำลาย 30 % ในช่วงระยะก่อนออกดอกตัวผู้หรือพบหนอนเฉลี่ย 20-100 ตัวหรือรูเจาะ 50 รู ต่อข้าวโพด 100 ต้น และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 5 วัน และ 14 วัน

หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยว ๆ ที่ช่อดอกตัวผู้ และเส้นไหมบริเวณปลายฝัก หนอนกัดกินเส้นไหม และเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินปลายฝัก ทำให้คุณภาพฝักเสียหาย พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ระยะข้าวโพดหวานเริ่มออกช่อดอกตัวผู้ โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี ช่วงเวลาการระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนชื้น
การป้องกันกำจัด
- ในพื้นที่ขนาดเล็ก ควรใช้มือจับทำลายหนอนที่ปลายฝัก
- ควรสำรวจหนอนที่ปลายฝักข้าวโพดหวานในระยะผสมเกสร ถ้าพบการทำลายควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับหนอนเจาะสมอฝ้าย สามารถใช้ชีวิทรีย์หรือสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ นิวเคลียร์โอโพลีฮีโดรซีสไวรัส ปริมาณ 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็นสลับกับสารเคมีและหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ ฟลูเฟนนอกซูรอน (5 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเฉพาะฝักที่พบไหมถูกทำลาย เมื่อพบหนอนขนาดเล็ก 10-20 ตัวต่อ 100 ต้น พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน

เพลี้ยอ่อนข้าวโพด
ลักษณะและการเข้าทำลาย เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ลักษณะกลมป้อมคล้ายผลฝรั่ง สีเขียวอ่อน มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ยาว 0.8-2.0 มิลลิเมตร ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน ช่อดอกตัวผู้ ปลายไหมและฝัก ทำให้การติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ ฝักลีบ ถ่ายมูลหวานทำให้เกิดราดำ คุณภาพฝักลดลง พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ระบาดมากในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ถ้าพบการระบาดรุนแรงในระยะข้าวโพดหวานมีช่อดอกตัวผู้ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับเพลี้ยอ่อนข้าวโพดสามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ คาร์บาริล (85% ดับบลิวพี) ปริมาณ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 10 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเฉพาะบริเวณที่เพลี้ยอ่อนลงทำลาย เมื่อพบความหนาแน่นของเพลี้ยอ่อนมากกว่า 5% องพื้นที่ใบทั้งต้น โดยเฉพาะระยะที่แทงช่อดอกตัวและหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 4 วัน

มอดดิน
ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวง สีเทาดำยาว ประมาณ 3.5 มิลลิเมตร กัดกินใบตั้งแต่เริ่มงอกถึงอายุประมาณ 14 วัน ทำให้ตัวอ่อนตายหรือชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่รอดตายจะเก็บเกี่ยวได้ล่าช้า ระบาดในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ในแถบจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวโพดหวานในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูฝนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
- กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของแมลงรอบแปลงปลูก ได้แก่ ขี้กาลูกกลม ตีนตุ๊กแก เถาตอเชือก สะอึก หญ้าตีนติด และหญ้าขจรจบดอกเล็ก
- ในแหล่งที่พบการระบาดเป็นประจำ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก สำหรับมอดดิน สามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช คือ อิมิดาโคลพริด (70 %ดับบริวพี) ปริมาณ 5 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม แล้วทำการคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก

หนอนกระทู้หอม
ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้มปนเทา กางปีกกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวใต้ใบ มีขนสีครีมปกคลุม หนอนกัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน จะทำความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร พบระบาดมากในแหล่งปลูกจังหวัดราชบุรี และนครปฐม ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับหนอนกระทู้หอม สามารถใช้ชีวิทรีย์หรือสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ นิวเคลียร์โอโพลีฮีโดรซีสไวรัส ปริมาณ 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน เมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัวต่อต้น และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ เบตาไซฟลูทริน (2.5 % อีซี) ปริมาณ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัวต่อต้น จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน (ในแหล่งที่พบแตนเบียนหนอนบราโคนิค ไม่จำเป็นต้องใช้สาร) และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน

สัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนู
ลักษณะการทำลาย หนูเป็นสัตว์ฟันแทะ ศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของข้าวโพดฝักอ่อน ทำลายมากตั้งแต่เริ่มเป็นฝักอ่อนถึงเก็บเกี่ยว สกุลหนูพุกกัดโคนต้นให้ล้มแล้วกัดกินฝักอ่อน สกุลหนูท้องขาว เช่น หนูบ้านท้องขาว หนูนาเล็ก และสกุลหนูหริ่งจะปีนกัดแทะฝักอ่อนบนต้น ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีอาหารชนิดอื่น
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู
- ใช้กรงดักหรือกับดัก
- เมื่อสำรวจพบร่องรอย รูหนู ประชากรหนู และความเสียหายอย่างรุนแรงของข้าวโพดฝักอ่อน ให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสานคือใช้กรงดักหรือกับดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ 20 ชนิดของสารกำจัดสัตว์ศัตรูที่สำคัญ

สารออกฤทธิ์เร็ว ที่นิยมใช้คือ ซิงค์ฟอสไฟต์ (80% ชนิดผง) ใช้ร่วมกับเหยื่อพิษ ประกอบด้วยสารซิงค์ฟอสไฟต์ ผสมปลายข้าวและรำข้าว อัตราส่วน 1:77:2 โดยน้ำหนัก ส่วนวิธีการใช้และข้อควรระวังคือใช้ลดประชากรหนูก่อนปลูก หรือเมื่อมีการระบาดรุนแรง โดยวางเหยื่อพิษเป็นจุดตามร่องรอยหนูหรือวางจุดละ 1 ช้อนชา ห่างกัน 5-10 เมตร ใช้แกลบรองพื้นและกลบเหยื่อพิษอย่างละ 1 กำมือ เนื่องจากเป็นเหยื่อพิษที่ทำให้หนูเข็ดขยาด จึงไม่ควรใช้บ่อยครั้ง ส่วนอัตราการใช้

สารออกฤทธิ์ช้า ที่นิยมใช้กันได้แก่ โฟลคูมาเฟน (0.005%) โปรมาดิโอโลน (0.005%) ไดฟิทิอาโลน (0.0025%) ใช้ร่วมกับเหยื่อพิษสำเร็จรูป (ชนิดขี้ผึ้ง) ก้อนละ 5 กรัม ส่วนวิธีการใช้และข้อควรระวัง ใช้ลดประชากรหนูที่เหลือหลังจากใช้สารออกฤทธิ์เร็ว โดยวางเหยื่อพิษในภาชนะตามร่องรอยหนูจุละ 15-20 ก้อน ห่างกัน10-12 เมตร เติมเหยื่อทุกสัปดาห์ และหยุดเติมเมื่อการกินเหยื่อน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
สารป้องกันกำจัดสัตว์สัตรูข้าวโพดหวานทั้ง 2 ชนิด ใช้ได้กับสัตว์ศัตรูพืช ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูบ้านท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก หนูหริ่งนาหางขาว และหนูหริ่งนาหางสั้น

3. การเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพ
เส้นไหมยาว 1-3 เซนติเมตร จำนวน 50 % ของแปลง ให้นับเป็นวันที่ 1 แล้วว่างไปอีก 20 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ หรือสังเกตสีของเส้นไหมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใช้แรงงานคนหักฝักให้ถึงบริเวณก้านฝักติดลำต้น ควรเก็บให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เมื่อเก็บฝักแล้วให้นำข้าวโพดที่ร่มไม่ถูกแสงแดด หรือรับขนส่งไปตาลาดหรือโรงงานภายในเวลา 24 ชั่วโมง

คุณภาพและมาตรฐานข้าวโพดหวาน
1. ตรงตามสายพันธุ์
2. ความอ่อนแก่กำลังดี ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
3. จำนวน 3-5 ฝักต่อกิโลกรัม
4. เมล็ดเต็ม ไม่เหี่ยว ลักษณะเปลือกเมล็ดบาง เมล็ดเรียงเป็นระเบียบ
5. เมล็ดสีเหลืองอ่อน ไม่มีสีอื่นปะปน
6. ไม่ถูกแมลงกัด ไม่เป็นโรค ไม่มีพันธ์อื่นปน ไม่เน่าเสียหรืออบร้อนจนเน่า
7. มีเปลือกหุ้มฝักได้ไม่เกิน 30% ของน้ำหนัก

jameborn
Newbie
Newbie
โพสต์: 4
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 17 ก.ย. 2012 5:55 pm

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย jameborn » ศุกร์ 28 ก.ย. 2012 7:59 pm

เทคนิคดีครับ

theeemptyzone1
Newbie
Newbie
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2012 1:34 pm
ติดต่อ:

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย theeemptyzone1 » อังคาร 02 ต.ค. 2012 10:08 pm

ต้องนำไปลอง สะหน่อยแล้ว

aloniix
Full Member
Full Member
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 07 ธ.ค. 2012 2:03 pm

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย aloniix » อังคาร 19 ก.พ. 2013 11:33 am

น่าสนใจจังค่ะ

pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย pantip » เสาร์ 20 พ.ค. 2017 2:40 am

หวานจริงๆ ไหม ครับ

ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

Re: วิธีผลิตข้าวโพดหวานให้มีคุณภาพ การป้องกันโรคต่างๆ การใช้สารเคมีให้ถูกต้อง

โพสต์โดย ลุงหนวด » อังคาร 12 ธ.ค. 2017 8:30 pm

theeemptyzone1 เขียน:ต้องนำไปลอง สะหน่อยแล้ว

ลองแล้วเป็นไงบ้าง บอกด้วย


ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 15 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน