เส้นทางไปชะอําจากกรุงเทพ อำเภอ ชะอํา จังหวัด เพชรบุรี

เพชรบุรีเป็นจังหวัดในภาคกลางที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 123 กิโลเมตร ชรบุรี มีพื้นที่ 6,255.138 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน
ลุงหนวด
Power Membership
Power Membership
โพสต์: 4406
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 12 ธ.ค. 2014 12:01 pm

เส้นทางไปชะอําจากกรุงเทพ อำเภอ ชะอํา จังหวัด เพชรบุรี

โพสต์โดย ลุงหนวด » จันทร์ 25 มี.ค. 2013 4:07 am

เส้นทางไปชะอําจากกรุงเทพ อำเภอ ชะอํา จังหวัด เพชรบุรี

เส้นทาง ทางรถยนต์ ประมาณ 180 กม. - เกี่ยวกับ 2 ชั่วโมง 12 นาที

อำเภอชะอำแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ชะอำ (Cha-am) 6. ห้วยทรายเหนือ (Huai Sai Nuea)
2. บางเก่า (Bang Kao) 7. ไร่ใหม่พัฒนา (Rai Mai Phatthana)
3. นายาง (Na Yang) 8. สามพระยา (Sam Phraya)
4. เขาใหญ่ (Khao Yai) 9. ดอนขุนห้วย (Don Khun Huai)
5. หนองศาลา (Nong Sala)


สถานที่ท่องเที่ยว

ชะอำ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี เป็นชายหาดติดทะเลฝั่งอ่าวไทย แต่เดิม ชะอำ เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น จึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของสมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้ พบว่า หาดชะอำ เป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอก มาตั่งที่ตำบลชะอำ และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอชะอำ

หาดชะอำ

อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท

อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

เป็นศูนย์เรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และการฝึกอบรมระดับสากลด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายครบวงจร ตั้งอยู่ภายในบริเวณค่ายพระรามหก ถนนเพชรเกษม ระหว่างชะอำและหัวหิน ทางเข้าทางเดียวกับพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

อุทยานแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2548 และเพื่อเป็นการฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ในบริเวณนี้ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกของประชาชนให้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

วนอุทยานเขานางพันธุรัต

เป็นเทือกเขาหินปูนที่มีความสวยงามเอกลักษณ์ โดดเด่นมองเห็นได้จากริมถนนใหญ่ ทอดยาวตามแนวเหนือ - ใต้ มองดูคล้ายนางยักษ์ (นางพันธุรัต) นอนอยู่ มีโกศอยู่ทางทิศใต้ และมีปฏิมากรรมธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องสังข์ทอง ตั้งอยู่ที่บ้านเขาไม้นวล หมู่ 2 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,562 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติ

สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพระยา ในเนื้อที่ 340 ไร่ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์แห่งนี้ดำเนินการโดยมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำฟาร์มผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ในท้องถิ่นที่เคยแห้งแล้งเนื่องจากการบุกรุกถางป่า และได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับคืนความสมบูรณ์ ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำควบคู่กับการเพาะปลูกพืช และนำผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จนำไปขยายผลสู่เกษตรกร เป็นแนวทางสู่เกษตรยั่งยืน

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง)

เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า "เขาสมน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่า "เขาวัง" สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิกผสมสถาปัตยกรรมจีน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี

ภายในเก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลืองที่ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่างๆ ในพระที่นั่ง และเครื่องกระเบื้องของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เฉพาะส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ทุกวัน

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 13 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน