ราคาค่าโดยสาร รถสาย กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี บริษัทขนส่งจำกัด

กาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่ง และป่าดงดิบ
pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

ราคาค่าโดยสาร รถสาย กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี บริษัทขนส่งจำกัด

โพสต์โดย pantip » อาทิตย์ 01 ม.ค. 2017 2:04 pm

ราคาค่าโดยสาร รถสาย กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี บริษัทขนส่งจำกัด
เป็นรถหมวด 3 สายที่ 411
ราคา 42

pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

Re: ราคาค่าโดยสาร รถสาย กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี บริษัทขนส่งจำกัด

โพสต์โดย pantip » อาทิตย์ 01 ม.ค. 2017 2:06 pm

ข้อมูล บขส. (บริษัท ขนส่ง จำกัด)
ประวัติ บริษัท ขนส่ง จำกัด
การขนส่งโดยรถยนต์และรถโดยสารในประเทศไทย เริ่มครั้งแรกหลังจากเปิดการเดินรถไฟสายแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ราว 2-3 ปี เมื่อรถยนต์จากยุโรปคันแรกได้นำเข้ามายังประเทศไทย รถยนต์คันนี้เป็นของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เข้าใจว่าคงจะมีฝรั่งนำเข้ามาจากยุโรปแล้วเอามาขายต่อ ลักษณะของรถยนต์นี้นัยว่า ใช้น้ำมันปิโตเลียมต้องจุดไฟลักษณะคล้ายเตาฟู่ รูปร่างคล้ายรถบดถนน มีที่นั่งสองแถวมีหลังคาเป็นประระล้อยางต้น ซึ่งทั้งนี้ทำให้สงสัยว่าจะเป็นรถที่ใช้เครื่องสตีมหรือไอน้ำมากกว่า และในที่สุดก็ใช้การอะไรจริงจังไม่ได้ ต้องทิ้งให้เหลือแต่ซากและสูญสิ้นไป ต่อมากรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นผู้นำรถยนต์จากยุโรปเข้ามาเป็นคันแรก แล้วได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นรถพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการให้สั่งซื้อรถยนต์แบบใหม่ ๆ ของสมัยนั้นเข้ามาอีกหลายสิบคัน เพื่อพระราชทานแจกจ่ายแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ.2451 ได้มีรถโดยสารประจำทางขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นของพระยาภักดีนรเศรษฐ ผู้ให้กำเนิดรถเมล์ขาวเดินรับส่งผู้โดยสารจากประตูน้ำ สระปทุม กับบางลำภู นับได้ว่าเป็นการเริ่มทำการขนส่งด้วยรถโดยสารขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการจราจร เพราะแต่เดิมถนนมีขนาดเล็กเหมาะสำหรับรถลากจูงและ เทียมม้ากับรถส่วนบุคคลพอมีรถโดยสาร ทำให้ถนนที่มีขนาดความกว้างไม่สัมพันธ์กับตัวรถโดยสาร จึงทำให้ถนนแคบลงและเกิดอุบัติเหตุอยู่เนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงตราพระราชบัญญัตรถยนต์เป็นฉบับแรกขึ้นเมื่อ ร.ศ.128 ขึ้นตรงกับ พ.ศ.2453 พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้วางระเบียบการเดินรถและขับรถขึ้นไว้ และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ.129 หรือ พ.ศ.2454 เป็นต้นมา

ในระยะต่อมาได้มีการพัฒนาถนนอย่างมากมายรอบ พระนครตลอดจนได้มีการพัฒนาทางด้านรถยนต์มากขึ้นประชาชนและผู้มีฐานะดี จึงหันมานิยมการสัญจรด้วยรถยนต์กันมากและมีผู้เล็งเห็นประโยชน์ในการเดินรถทางสัญจรไปมา จึงได้มีกลุ่มบุคคลรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นสั่งรถยนต์ทั้งส่วนบุคคลและรถโดยสารเข้ามา ในประเทศมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นทางราชการจึงได้ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473ขึ้นเพื่อใช้บังคับให้มีการจดทะเบียนรถยนต์แสดง ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของรถยนต์ พร้อมกันนั้นก็ใช้บังคับให้เจ้าของรถยนต์ เสียภาษีในการมีรถยนต์ให้แก่รัฐ

ใน พ.ศ.2473 นี้เอง ได้มีกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งบริษัทเดินอากาศ จำกัด ขึ้นมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Aerial Transport of Siam Company Limited เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2473 ประกอบด้วยผู้ริเริ่มดัง นี้ 1) พระยาเชาวนานุสถิติ (เชาว์ อินทุเกตุ) 2) พระยาภิรมย์ ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร์) 3) พระยาภักดีนร เศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร์) 4) นายกิมพงษ์ ทองธัช 5) นายอี รอนเลซ (E. Ronlez) 6) นายอ๊อตโต เปรก เกอร์ (Otto Preagor) 7) นายเอชยี โมโนด์ (H.G. Monod)

โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ตึกนภาวิถี สี่พระยา ถนนฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงค์ อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ ชุดแรกประกอบด้วย 1) พระยาเชาว นานสถิติ (เชาว์ อินทเกตุ) เป็นประธานกรรมการ 2) พระยาภิรมย์ภักดี 3 ) พระยาภักดีนรเศรษฐ 4 ) นายอ๊อตโต เปรกเกอร์ 5) นายเอซ คริสเตียนเสน 6) นายกิมพงษ์ ทองธัช 7)นายอาร์ บี แจ๊คสัน เป็นกรรมการผู้จัดการ มีทุนจดทะเบียน 600,000 บาท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นจำนวน 6,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ชำระครั้งแรกหุ้นละ 25 บาท เป็นเงินดำเนินกิจการเริ่มแรก 150,000 บาท ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 2 ประเภท ได้แก่กิจการบินพาณิชย์ กิจการเดินรถ โดยได้เปิดสายการบินพาณิชยเป็นครั้งแรกภายในประเทศ ไทย ได้ทำการก่อสร้างสนามบินและท่าอากาศยานขึ้นณ บริเวณต่าง ๆ ที่เปิดสายการบินไปถึง นอกจากนี้ยังมีสนามบินน้ำอีก 2 ที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี กับที่สนามบินน้ำปากเกร็ด จ.นนทบุรี แล้วย้ายไปยังสนามบินน้ำคลองเตยเมื่อปี 2489 เครื่องบินที่ใช้เป็นเครื่องบินแฟร์ไชลดด์และยี่ห้อพุสมอส ใช้อักษร ขส. นำหมายเลขข้างตัวถังเครื่องบิน ในช่วงนี้ เครื่องบินของบริษัทฯ ใช้เครื่องหมายรูปช้างสามเศียร สีแดงนอกจากนี้เป็นตัวแทนสายการบินพาณิชย์ต่างประเทศทำหน้าที่เก็บ ค่าการบินพาณิชย์ต่างประเทศ เพราะสัมปทานการบินพาณิชย์ที่รัฐบาลไทยให้ไว้แก่บริษัทการบินพาณิชย์ต่างประเทศนั้น มีเงื่อนไขในสัญญาว่า เมื่อสายการบินพาณิชย์ต่างประเทศ ได้รับสัมปทานให้ทำการบินในประเทศไทยได้แล้วจะ ต้องให้บริษัทเดินอากาศจำกัดของไทย เป็นตัวแทนให้แก่บริษัทการบินพาณิชย์ ต่างประเทศนั้น ๆ

สำหรับกิจการบินพาณิชย์นอกประเทศ บริษัทฯ ได้รับนโยบายจากทางราชการให้เปิดสาย การบินไปต่างประเทศได้แก่ โซนัน(สิงค์โปร์) ย่างกุ้ง ไซ่ง่อน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะญี่ปุ่น เริ่มแผ่ขยายอิทธิพลครอบคลุม ไปทั่วภาคพื้นทวีปเอเซีย

กิจการด้านการเดินรถในระยะเริ่มแรก ได้เปิดกิจการควบคู่กับการบินพาณิชย์ โดยเปิดการเดินรถจากหัวลำโพงไปยังดอนเมือง รังสิต และท่าช้างวังหลวงไปยังสนามบินน้ำ จ.นนทบุรีผลจากการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อาจจะเป็นกิจการใหม่ประชาชนหันมานิยมใช้บริการกันมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2479 จนถึง 2482 ประเทศไทยได้เข้าฝรั่งเศส ประเทศไทยได้เข้าสู่สภาวะสงครามอินโดจีน ผู้ซึ่งเป็นชนชาติอังกฤษ เช่นเช่น นายอาร์บี แจ็คสัน และผู้ก่อตั้งสัญชาติอังกฤษ ต้องเดินทางออกนอกประเทศ เป็นผลให้ในปี พ.ศ.2482ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบริษัทเดินอากาศ จำกัด เป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด

เมื่อเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด แล้วก็ยังใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดิม คือ Aerial Transport of Siam Company Limited เปลี่ยนผู้จัดการเป็นพระยาเชาวนานุสถิติ (เชาว์ อินทุเกตุ) จากปี พ.ศ. 2482-2484 สงครามโลกครั้งที่ 2ได้เริ่มขึ้นจากประเทศยุโรปและลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกในทวีปอาเซีย ญี่ปุ่นยกกำลังเข้ายึดครองประเทศต่างๆ ทั่วทวีปอาเซีย รวมทั้งได้ยกพลขึ้นบกเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภาวะสงครามได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อกิจการของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านการบิน

pantip
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 472
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 25 มิ.ย. 2016 12:50 am
ติดต่อ:

Re: ราคาค่าโดยสาร รถสาย กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี บริษัทขนส่งจำกัด

โพสต์โดย pantip » อาทิตย์ 01 ม.ค. 2017 2:07 pm

การเดินรถในสภาวะสงคราม ไม่สามารถจัดการเดินรถได้ตามปกติ เพราะรัฐบาลได้ให้รถ สนับสนุนทางราชการ โดยเฉพาะรับ-ส่ง คณะกรรมการรับมอบดินแดนบางส่วนคืนจากประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2484; จำนวน 8 คัน และในปี พ.ศ. 2485 บริษัทได้รับมอบรถโดยสาร จำนวน 25 คัน รถจักรยานยนต์ 1 คัน จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นหุ้นในบริษัท ถึง 160,000 บาทเป็นจำนวนหุ้น มูลค่าหุ้นละ100 บาท โดยบริษัทออกใบหุ้นให้สำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็น ผู้ถือส่วนรถโดยสารทั้งหมดนำไปเดินเส้นทางจากศาลาเฉลิมกรุง กรุงเทพมหานคร ไปยังสมุทรปราการ บางปู บางปะกง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สัตหีบ ระยอง กับได้รับมอบนโยบายเปิดการเดินรถในจังหวัด ที่ประเทศไทยได้รับมอบดินแดนคืนจากประเทศเขมร ได้แก่สายอรัญประเทศไปพระตะบอง อรัญประเทศ พิบูลสงครามไพรีระย่อเดช โดยบริษัทฯ เช่าสถานีในเขตจังหวัดพระตะบองเป็นที่ ทำการเดินรถนอกจากนี้ในช่วงดังกล่าว บริษัทฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ทำการเดินรถขึ้นอีก 3 สาย คือสายกรุงเทพมหานคร ไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ไปตะพานหิน ทางแยกวังชมพู ไปหล่มเก่า ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในช่วงของสงครามบริษัทฯ ไม่สามารถจะจัดรถเดินตามปกติได้ เพราะต้องนำรถโดยสารบางส่วนไปช่วยสนับสนุนทางราชการ ดังได้กล่าวมาแล้ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบกระเทือนเฉพาะด้านการเดินรถ จนไม่สามารถดำเนินกิจการได้เพราะ น้ำมันขาดแคลนต้องจ้างบริษัทบางกอกด๊อก จำกัด ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ เพื่อใช้ถ่านแทนน้ำมัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ปัญหาเรื่องยาง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดแคลน เพราะเป็นภาวะหลังสงคราม เศรษฐกิจตกต่ำ เครื่องอุปโภคมีราคาสูงรายได้ประชากรต่ำลง ดังนั้นในปี 2498 บริษัทฯ ได้แจ้งสถานการณ์ของบริษัทฯ ไปยังทางราชการพร้อมทั้งเสนอความเห็นขอรับความช่วยเหลือต่อทางรัฐบาลข้อเสนอของบริษัทฯ ไม่ได้ตอบสนองจากทางรัฐบาลเพราะรัฐบาลเองก็ประสบปัญหาในการกอบกู้ประเทศ ดังนั้น เมื่อสุดที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะกิจการบินต้องหยุดโดยเด็ดขาดจากภาวะสงคราม กิจการเดินรถก็มีผลกระทบเช่นเดียวกันจนไมสามารถดำเนินการได้ จึงให้คงสัมปทานไว้เพียง 2 สาย คือสายกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) ไปรังสิตและกรุงเทพมหานครไปจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้รถโดยสารที่เหลือพอซ่อมออกเดิน ได้เข้าเดินเพื่อรักษาเส้นทางคมนาคมไว้ และพร้อมกันนี้ก็ปลดพนักงานแทนการเลิกกิจการ โดยพิจารณาระบายพนักงานและช่างออกร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมด และในปีเดียวกันนี้เอง ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากตึกนภาวิถี สี่พระยา ไปอยู่กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคมท่าช้าง วังหน้า ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นโรงละครแห่งชาติและวิทยาลัย นาฏศิลป์) ส่วนแผนกการบินก็ยังอยู่ที่ตึกสภาวิถี สี่พระยา ตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ.2488 ย้ายสำนักงานใหญ่จาก กรมการขนส่งทางบกไปอยู่ที่ตึกนภาวิถี สี่พระยาอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2489 ย้ายสำนักงานทั้งหมดไปรวมอยู่ที่แผนกเดินรถหลังศาลาเฉลิมกรุง และย้ายสำนักงานใหญ่จากหลังศาลาเฉลิมกรุงไปอยู่เลขที่ 196-198 ท่าช้างวังหลัง ถนนหน้าพระลาน อ.พระนคร จ.พระนคร ในปี พ.ศ.2490 และในปีเดียวกันนี้ได้ยุบเลิกกิจการการบิน (ต่อมาภายหลังตั้งเป็นบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ในปัจจุบัน) ให้บริษัท้ขนส่ง จำกัด ควบเข้ากับบริษัทเรือไทย จำกัด ทำการเดินรถและเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาในปี พ.ศ.2490 เป็นต้นมา

เมื่อกิจการเดินเรือและกิจการเดินรถได้ควบเป็นกิจการเดียวกันตามนโยบายของทางราชการ ปรากฏว่าบริษัทเรือไทยได้พ่วงหนี้สินติดมาด้วยส่วนบริษัทขนส่ง จำกัด ก็มีหนี้สินเดิมอยู่เมื่อรวมหนี้สินเข้าด้วยกันแล้ว เป็นยอดรวมถึง4,934,487.56 บาททั้งนี้ บริษัททั้งสองได้เสื่อมโทรมมาจากภัยสงคราม เป็นผลให้การดำเนินกิจการและสถานะทาง การเงินของบริษัททรุดหนัก ต้องปลดพนักงานออกอีกระลอกหนึ่ง จำนวน 84 คน เมื่อ พ.ศ. 2490

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2492 บริษัทฯได้รับความยินยอมจากรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง ให้กู้เงินจากธนาคารออมสินได้ 10 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินรายนี้ให้บริษัทฯ จึงได้ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารออมสิน 8 ล้าน 5 แสนบาท ส่วนยอดเงินที่ได้รับอนุมัติให้กู้ที่ยังเหลืออยู่ 1 ล้าน 5 แสนบาท จึงจะครบ 10 ล้านบาท

ต่อมาในวันที่ 3 ก.พ.2496 บริษัทฯ ได้กู้เงินจากธนาคารออมสินเพิ่มอีก 15 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อขยายกิจการเดินรถประจำทาง และได้นำเงิน 12 ล้านบาท ไปซื้อรถโดยสารสำเร็จรูปจากต่างประเทศ 2 ชนิดคือ อีซูซุ 30 คัน เซ้ดดอน 50 คัน รถใช้สอย คันรวม 86 คัน เงินที่เหลืออีก 3 ล้านบาท ได้จัดซื้ออุปกรณ์การซ่อมเครื่องอะไหล่สร้าง โรงเก็บรถสร้างที่อยู่ เจ้าหน้าที่ จัดหาที่ดินบูรณะอาคารที่จำเป็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ในช่วงปี 2493 ถึง 2501 กิจการเดินเรือเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบจากการสร้างเขื่อนชัยนาท เป็นผลให้แม่น้ำเจ้าพระยาบางตอน ตื้นเขิน เรือเดินไม่สะดวก รวมทั้งในช่วงดังกล่าวกฎหมายเปิดโอกาสให้ เอกชนสามารถลงทุนต่อเรือโดยสารเดินตามลำน้ำต่าง ๆ ได้โดยเสรีเป็นผลให้เรือของบริษัทฯ ซึ่งมีอายุใช้งานมานานและเริ่มล้าสมัย ในที่สุดจำเป็นต้องหยุดกิจการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา


ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 24 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน