การจัดทำสายไฟใต้ดินของมหานครกรุงเทพกับปัญหาน้ำท่วมขัง

พูดคุยเรื่อง ที่อยู่ ที่พักอาศัย บ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนท์ ที่อยู่อาศัย กำลังจะซื้อ หรือซื้อแล้ว พูดคุยเรื่องที่อยู่ของตัวเองกันได้ที่นี่ จะปลูกต้นไม้ จัดสวน หรือการดูแล รักษาบ้านเรา ปรึกษาเพื่อนๆ ได้

Moderator: ลุงหนวด

แอนนา

การจัดทำสายไฟใต้ดินของมหานครกรุงเทพกับปัญหาน้ำท่วมขัง

โพสต์โดย แอนนา » พฤหัสฯ. 30 มิ.ย. 2016 9:08 am

“กฟน.” ทุ่ม 4.8 หมื่นล้าน เก็บสายไฟฟ้าใต้ดิน เผยโครงการระยะแรก 127.3 กิโลเมตร ระยะโครงการ 10 ปี (2559-2568) เผย “บิ๊กตู่” สั่งผ่านปลัด มท. นำสายไฟลงดินให้เสร็จภายใน 5 ปีให้ได้ พื้นที่กทม.เร่งดำเนินการพื้นที่จิตรลดา ปทุมวัน และพญาไท พร้อมเพิ่มเติมพื้นที่นนทรี พระราม 3 รัชดาภิเษก-พระราม 9

วันนี้ (29 มิ.ย) มีรายงานว่า ภายหลังรัฐบาลสั่งการไปยังกระทรวงมหาดไทยให้เร่งดำเนินการนำระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคมแบบสายอากาศเป็นระบบสายใต้ดิน (นำสายไฟฟ้า-สายสื่อสาร ลงใต้ดิน) หลายหน่วยงาน เช่น การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคมแบบสายอากาศเป็นระบบสายใต้ดิน เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

นายกฤษฎา ปลัดกระทรวงมหาดไทย และประธานบอร์ด กฟน.กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายการนำสายไฟและสายโทรคมนาคมลงดินมาแล้วว่าต้องเร่งรัดโครงการจาก 10 ปีให้เสร็จภายใน 5 ปีให้ได้

นายสมชาย โรจน์รุ่งวศินกุล ผู้ว่าการ กฟน. ยอมรับว่า กฟน.ได้เริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2530 แต่การทำ MOU มีจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานกับกรุงเทพมหานครเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้พื้นที่ดำเนินโครงการฯ การประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสายสื่อสารที่มีหน่วยงานอย่างสำนักงาน กสทช. และบริษัท ทีโอที เป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับขอบเขตความร่วมมือในครั้งนี้ ประกอบด้วย โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินที่ กฟน.กำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ จิตรลดา ปทุมวัน และพญาไท (เพิ่มเติม) นนทรี พระราม 3 รัชดาภิเษก-พระราม 9 รวมถึงโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดินของ กฟน. ระยะที่ 1 รวม 127.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 48,717 ล้านบาท ถือเป็นโครงการระยะยาว 10 ปี (2559-2568) ทั้งนี้ การได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยจะการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน และนำสายสื่อสารโทรคมนาคมที่อยู่ในพื้นที่โครงการฯ ลงใต้ดินทั้งหมด เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีภาพลักษณ์ที่ดี สวยงาม และเหมาะสมกับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน

มีรายงานว่า กฟน.ได้เริ่มดำเนินการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน “โครงการนนทรี” ระยะทาง 8.3 กิโลเมตร กฟน.กำหนดราคากลางที่ 2,500 ล้านบาท ได้กำหนดยื่นเสนอราคาในวันที่ 19 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะเคาะราคาได้ประมาณเดือน มิถุนายน 2559 พร้อมกับดำเนินการเซ็นสัญญาในเดือน กันยายน 2559 หลังจากนั้นก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2563

นอกจากนี้ ในช่วงประมาณปลายปี 2559 ทาง กฟน.ยังได้เตรียมที่จะเปิดประมูลเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินโครงการพระราม 3 ระยะทาง 6.2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำราคากลางคาดว่ากรอบราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท

มีรายงานว่า สำหรับโครงการรัชดาภิเษก-อโศก และโครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 ระยะทางรวม 22.5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยแบ่งโครงการเป็น 2 เฟส เฟสแรกคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ประมาณต้นปี 2560 ส่วนเฟส 2 ประมูลช่วงปลายปี 2560 และกรอบวงเงินราคากลางอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท ส่วนโครงการปทุมวัน จิตรลดา และพญาไท ระยะทาง 6.2 กิโลเมตรอยู่ระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนสายไฟฟ้าซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2559

ทั้งนี้ เมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ยังมีโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดินที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใต้วงเงิน 48,717 ล้านบาท ระยะทางรวม 127.3 กิโลเมตร ระยะเวลาการดำเนินการ 10 ปี (2559-2568) ล่าสุดอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการ

มีรายงานว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กฟน.ได้เปิดให้มีการลงนามข้อตกลงคุณธรรมใน “โครงการนนทรี” กับ 16 บริษัท ที่อาจจะยื่นเสนอราคา เช่น บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR, บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ DEMCO, บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ PLE, บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หรือ LOXLEY, บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน) หรือ EMC เป็นต้น

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 26 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน