รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.

ตอบกระทู้


คำถามนี้ เพื่อป้องกันการส่งแบบอัตโนมัติจากสแปมบอท
รูปแสดงอารมณ์
:) ;) :D ;D >:( :( :o 8) ??? ::) :P :-[ :-X :-\ :-* :'( >:D ^-^ O0

BBCode เปิด
[img] เปิด
[flash] ปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.

Re: รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.

โพสต์ โดย ลุงหนวด » อังคาร 22 ส.ค. 2017 5:26 am

ความคืบหน้าล่าสุด อุโมงขุดเสร็จแล้ว

Re: รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.

โพสต์ โดย pantip » อังคาร 01 ส.ค. 2017 10:15 am

ดูทางลอด ยาว 1.2 กิโลกัน กำลังขุด
viewtopic.php?f=54&t=93135

รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.

โพสต์ โดย pantip » เสาร์ 20 พ.ค. 2017 2:23 am

รายละเอียด โครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง รวมประมาณ 106 กม.
ข้อมูลเบื้องต้น ของ โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ตอนศรีราชา – ฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย
แก่งคอย.jpg
แก่งคอย.jpg (122.95 KiB) เปิดดู 94390 ครั้ง


ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจากผลการออกแบบรายละเอียดและการศึกษาปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง เส้นทางดังกล่าวเมื่อปี 2541 และผลการศึกษาทบทวนโครงการเมื่อปี 2544 การรถไฟฯ ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และต่อขยายเข้าสู่แหลมฉบังเป็นลำดับแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง

ลักษณะและที่ตั้งโครงการ ทางรถไฟทางคู่ ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางเดิม เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยวถึงสถานีคลองสิบเก้า แยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า – แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานี แก่งคอย ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา พื้นที่อำเภอองครักษ์ และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และพื้นที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ขอบเขตของงาน
– ก่อสร้างทางใหม่อีก 1 ทาง เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา (กม.61+190) ถึงสถานีแก่งคอย (กม.167+800) รวมระยะทางประมาณ 106 กม.
– จัดเตรียมและเวนคืนที่ดินประมาณ 119 ไร่ บริเวณนอกย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางบ้านภาชี และชุมทางแก่งคอย เพื่อการก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line)
– ก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง จำนวน 2 ทาง ในพื้นที่ที่เวนคืนตามข้อที่แล้วบริเวณนอกย่านสถานี เพื่อใช้เป็นทางคู่เลี่ยงเมือง รวม 3 แห่ง ระยะทางประมาณ 7.1 กม. ได้แก่
1. ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา ระหว่าง กม.61+190 ถึง กม.62+600 เชื่อมสายคลองสิบเก้า-แก่งคอยกับสายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ ระยะทาง 1.41 กม.
2. ที่ชุมทางบ้านภาชี ระหว่าง กม.92+000 ถึง กม. 93+600 เชื่อมสายเหนือกับสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1.60 กม.
3. ที่ชุมทางแก่งคอย ระหว่าง กม.163+350 ถึง กม.167+400 เชื่อมสายตะวันออกเฉียงเหนือกับสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 4.05 กม.
– ก่อสร้างอุโมงค์บริเวณเขาพระพุทธฉาย ขนานไปกับอุโมงค์เดิม กม.147+100 ถึง กม.148+307 ระยะทางประมาณ 1.2 กม.

– ก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม จำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีไผ่นาบุญ ที่ กม.162+819 ระหว่างสถานีบุใหญ่และสถานีแก่งคอย เพื่อใช้เป็นสถานีควบคุมระบบอาณัติสัญญาณฯ (Block Post Station) รวมทั้งอาคารประกอบสถานีอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมเพื่อความสมบูรณ์
– ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย และ ทางคู่เลี่ยงเมือง

วงเงินลงทุนโครงการ
จากการศึกษาทบทวนโครงการล่าสุด มีประมาณการค่าก่อสร้าง ประกอบด้วย 128.82 ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 414.24 ล้านบาท
ค่าก่อสร้าง / ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 10,805.29 ล้านบาท
รวมประมาณราคาค่าก่อสร้าง 11,348.35ล้านบาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ความจุของทางจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว สามารถเดินรถได้ตรงเวลาโดยไม่ต้องรอหลีก ความเร็วเฉลี่ยของขบวนรถ และความปลอดภัยในการเดินรถเพิ่มมากขึ้น

รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบัง กับพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น น้ำมัน ก๊าซ LPG ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ขนส่ง (Modal Shift) ไปสู่ระบบรางและสนับสนุน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ

ทำให้ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าหัน มาใช้บริการขนส่งระบบรางมากขึ้น เป็นประโยชน์ ต่อการใช้พลังงานและลดต้นทุนการขนส่งของ ประเทศ

ช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนสายต่างๆ ที่เชื่อมภาคตะวันออกกับภาคเหนือและภาคตะวันออก- เฉียงเหนือ ลดการใช้น้ำมันสำหรับรถยนต์บรรทุก ลดอุบัติ- เหตุและลดการสูญเสียต่างๆ บนท้องถนน

ข้างบน